Page 180 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 180
วิธีการในการด�าเนินการและผลที่เกิดจากด�าเนินโครงการ
กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยทอดกรอบ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูป
เผือกหอม ด้วยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) บทสรุป
ที่ได้จากการร่วมสนทนากลุ่ม ได้มาซึ่งสภาพปัญหา อุปสรรค และบริบทวัตถุดิบภายในชุมชนและ
ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านแปรรูปเผือกหอม แนวทางการการพัฒนาผลิตภัณฑ์
กล้วยทอดกรอบของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านแปรรูปเผือกหอม แนวทางการวิเคราะห์คุณภาพ
และคุณค่าทางโภชนาการ เพิ่มนวัตกรรมกระบวนการผลิตกล้วยทอดกรอบ โดยกลุ่มฯ ได้ร่วม
เรียนรู้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คิดค้นสูตรผลิตภัณฑ์
เพื่อให้ได้รสชาติที่ทางกลุ่มพึงพอใจ โดยอยู่ภายใต้มาตรฐานอาหารปลอดภัยตามมาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์
ผลที่ได้จากการวิจัยแบบมีส่วนร่วม จากการสัมภาษณ์และการลงพื้นที่พบว่าภายใน
ชุมชนมีการกล้วยน�้าว้าเสริมตามคันนาและบริเวณโดยรอบบ้าน และบริเวณแปลงโคกหนองนา
โมเดลภายในชุมชน ต�าบลหรเทพ เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและการขาย ประกอบกับใน
ช่วงที่เผือกหอมขาดตลาดเนื่องจากภันน�้าท่วมและไม่อยู่ในฤดูกาลผลิต จึงท�าให้กลุ่มขาดรายจา
การขายเผือกทอดกรอบได้ในช่วงระยะเวลา 3-6 เดือน ในวงรอบการผลิต จึงมีความต้องการจะ
เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ไม่ต้องมีการลงทุนมาก และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์
สูงสุด และท�าให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต เช่น อุปกรณ์เครื่องมือต่างในการใช้ทอดเผือก
หอม จึงมีความต้องการที่จะน�ากล้วยน�้าว้าที่มีอยู่แปรรูปเป็นกล้วยทอดกรอบ ที่มีสูตรการท�า
ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีรสชาติตรงตามความต้องการของกลุ่มฯ และผู้บริโภคได้แก่ กล้วยทอดกรอบ
รสดั้งเดิมหวานน้อย และกล้วยทอดกรอบรสบาร์บีคิว รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสิน
ค้าของผลิตภัณฑ์กล้วยทอดกรอบให้แก่กลุ่มฯ
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 179