Page 155 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 155
กล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจ และมีบทบามส�าคัญในชีวิตประจ�าวัน
ของคนทั่วไป ทั้งในการรับประทานและยังน�ามาแปรรูปเป็น
บทน�าอาหารคาว อาหารหวาน และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น
กล้วยตาก กล้วยฉาบ กล้วยทอด กล้วยอบเนย เป็นต้น กล้วยเป็นพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง
ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต แคเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินเอ กล้วยสามารถบริโภคสดและ
แปรรูปได้ซึ่งได้รับความนิยมรับประทานกันมาจนถึงปัจจุบัน การแปรรูปกล้วยถือเป็นภูมิปัญญา
คู่คนไทยมาช้านานและยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรกรที่
มีการปลูกกล้วยเป็นจ�านวนมาก เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยในยามที่ผลผลิตออกมามาก
อีกทั้งเป็นการสร้างอาชีพหรือต่อยอดอาชีพเดิมที่มีอยู่ให้มั่นคงต่อไป จากการลงพื้นที่สอบถาม
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วย ต�าบลโพประจักษ์ อ�าเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
รวมกลุ่มกันเพื่อน�าผลผลิตกล้วยมาแปรรูป เนื่องจากในพื้นที่มีการปลูกกล้วยจ�านวนมาก เพื่อ
บริโภคและจ�าหน่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ และมีกล้วยที่ไม่ได้คุณภาพส�าหรับการ
จ�าหน่าย จะน�ามาแปรรูปเป็นกล้วยตาก กล้วยทอด และกล้วยฉาบ ซึ่งยังไม่หลากหลายและขาด
ความน่าสนใจ ทางกลุ่มฯจึงมีความสนใจที่จะพัฒนากระบวนการผลิตกล้วยตากซึ่งมียอดขาย
จ�านวนมาก ให้สะอาดถูกหลักอนามัยยิ่งขึ้น แต่ขาดองค์ความรู้เรื่องตู้อบกล้วย นอกจากนี้ยังมี
ความสนใจในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยมีความสนใจผลิตภัณฑ์กล้วยแท่ง
(Banana Stick) แต่ยังขาดองค์ความรู้ในการผลิตและเพิ่มมูลค่าในตัวสินค้าของกลุ่มให้มีความ
โดดเด่นหรือน่าสนใจยิ่งขึ้น
สรุปประเด็นปัญหาในการพัฒนา
1. พัฒนากระบวนการผลิตกล้วยตากให้สะอาดถูกหลักอนามัย
2. ผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยยังไม่หลากหลาย สนใจพัฒนาเป็นกล้วยแท่ง และพัฒนา
ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งพบว่ายังไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการใส่ผลิตภัณฑ์วางจ�าหน่าย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาเครื่องอบกล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์
2. เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ด�าเนินโครงการ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากกล้วย ต�าบลโพประจักษ์ อ�าเภอท่าช้าง
จังหวัดสิงห์บุรี
ระยะเวลาด�าเนินโครงการ
ธันวาคม 2566 - สิงหาคม 2566
154 < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น