Page 150 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 150
แรกเริ่มอ�าเภอบางระจัน ได้สนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ในการท�า
ผลิตภัณฑ์ งบประมาณ 100,000 บาท ต่อมาได้รับงบประมาณ
บทน�าสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนต�าบล (อบต.) และการศึกษา
นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้มาอบรมหลักสูตรระยะสั้นพร้อมงบประมาณ
สนับสนุน ปัจจุบันใช้เงินส่วนตัวในการลงทุน และมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีร่วมพัฒนาเรื่อง
การตลาดออนไลน์ การจัดการคลังสินค้า และพัฒนาตราสินค้า จนได้แบรนด์ใหม่ นอกจากนี้
ยังได้รับการพัฒนาเรื่องรูปแบบของกระเป๋าจักสานและตกแต่งเพื่อเพิ่มมูลค่า จากการลงพื้นที่
สอบถามสภาพปัญหาปัจจุบัน ทางกลุ่มได้ขยายการผลิตจากเครื่องจักสานประเภทกระเป๋า
ตะกร้า โดยเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นผักตบชวากันกระแทกสินค้า ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่าง
มากในการขายออนไลน์ ซึ่งผักตบชวาจะต้องน�ามาหั่นจ�าหน่าย จ�านวน 2 ขนาด ได้แก่ ขนาด 1
ซม.และ ขนาด 2 ซม. ซึ่งได้ขนาดไม่เท่ากันเพราะใช้แรงงานคนในการหั่น หลังจากนั้นน�าไปตาก
ให้แห้งก่อนน�าส่ง ซึ่งปัจจุบันกระบวนการผลิต ใช้แรงงานคน และอุปกรณ์ที่ใช้คือ มีดกับเขียงใน
การหั่นผักตบชวาที่เก็บจากคลองในพื้นที่ ซึ่งใช้เวลาในการผลิต 1 ชม. จะผลิตได้ 20 กก. หลัง
จากตากแห้งจะเหลือ 2 กก. ยอดขายประมาณ 150 -250 กก. ซึ่งต้องใช้มีดคม ในการผลิตยาง
ของผักตบชวาท�าให้มีดไม่คม และบรรจุภัณฑ์ยังใช้ถุงพลาสติกหรือกระสอบในการส่งเพื่อ
จ�าหน่าย
ดังนั้น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จึงจัดโครงการเพื่อพัฒนา
ศักยภาพการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสิงห์ชวาบ้านทุ่งกลับน้อย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนาเครื่องหั่นผักตบชวาอัตโนมัติ
2. เพื่อพัฒนาและออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ผักตบชวากันกระแทก
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ด�าเนินโครงการ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสิงห์ชวาบ้านทุ่งกลับน้อย ต�าบลพักทัน อ�าเภอบางระจัน
จังหวัดสิงห์บุรี
ระยะเวลาด�าเนินโครงการ
ธันวาคม 2565 - สิงหาคม 2566
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 149