Page 160 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 160
จังหวัดสิงห์บุรี เป็นพื้นที่ขนาดเล็กมีชุมชนตั้งอยู่กระจายในพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศ
โดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนริมแม่น�้าเป็น
อย่างมาก มีแม่น�้าส�าคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น�้าเจ้าพระยา แม่น�้าน้อย และแม่น�้าลพบุรี
นอกจากนี้ยังมีล�าน�้าสายอื่น ๆ ไม่มีพื้นที่เป็นภูเขาและป่าไม้และไม่มีแร่ธาตุที่ส�าคัญ สภาพภูมิ
อากาศไม่เป็นไปตามฤดูกาลในบางพื้นที่ปริมาณน�้าที่ใช้ในภาคการเกษตรไม่พอพอเพียง ส่งผล
ต่อเศรษฐกิจรากฐานในชุมชน ต้องเปลี่ยนวิธีการประกอบอาชีพไปตามสถานการณ์ที่ไม่อาจจะ
คาดคะเนสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติได้ โดยเฉพาะการเกษตรที่ต้องการปัจจัยการดูน�้าและ
ภูมิอากาศมาเป็นปัจจัยเริ่มต้น แรงงานสูงอายุ จ�านวนแรงงานคนโรคหรือแมลงก่อกวน ระบบ
เศรษฐกิจ ปัญหาต่าง ๆ ที่ท�าให้ได้ผลผลิตที่ลดลง หรือรายได้ไม่สอดคล้องกับการด�าเนินชีวิต
จากการลงพื้นที่ พบว่า กลุ่มเกษตรกรเพาะเห็ดต�าบลไม้ดัด อ�าเภอบางระจัน จังหวัด
สิงห์บุรี ยังขาดกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานเกษตรปลอดภัย และ
กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ กระบวนการขายและตลาด ซึ่งเห็ดเป็นผลผลิตที่ดูแลง่าย ใช้บริโภค
แทนเนื้อสัตว์ได้ ดีต่อสุขภาพ และปลอดภัยจากสารเคมี รวมทั้งกระแสบริโภคเพื่อสุขภาพ ใน
ช่วงเทศกาลกินเจ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของจังหวัดในการ
สนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยอย่างครบวงจร และยังสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
แบบ SDGs (Sustainable Development Goals) คือ เป้าหมายการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่
ยั่งยืน โดยมีมิติ 3 ประการ คือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อขจัดความยากจน การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยใช้วิถีทางการเกษตรร่วมกับการใช้
นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกิดประโยชน์ต่อชุมชนให้มากที่สุด โดยเฉพาะ
ในเป้าหมายที่ 1 การยุติความยากจน และเป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย เพื่อประชาชนในพื้นที่
มีความมั่นคงทางอาหาร ยกระดับโภคชนาการ และส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน เป็นต้น ดังนั้น ใน
การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตและการตลาดผลผลิตเห็ดของกลุ่มธุรกิจชุมชน
ต�าบลไม้ดัด อ�าเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยการน�าเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการเกษตรเข้าไป
พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เพาะปลูกเห็ดเพื่อเพิ่มผลผลิต วิธีการแปรรูป สามารถสร้างมูลค่าให้แก่
เกษตรกรในชุมชน น�าองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นน�ามาเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรในชุมชน และพัฒนา
ต่อยอดแนวคิดกระจายความรู้ในวงกว้าง สร้างรายได้ให้ชุมชนเข็มแข็งและยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. พัฒนาระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมส�าหรับปัจจัยการเพาะเห็ด
2. ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเพาะเห็ดให้แก่กลุ่ม
เกษตรกร
3. การเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากเห็ดและการส่งเสริมการตลาด
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 159