Page 159 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 159
การเกษตร เป็นหนึ่งในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถในการ
บทน�าแข่งขัน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ในยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ใช้แผนการปฏิรูป
ประเทศด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการเกษตรแผน
ย่อยเกษตรอัจฉริยะ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่การเกษตรยุคใหม่ โดยให้เป็นการเกษตร
สร้างมูลค่า ด้านการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรในเวทีโลกด้วยพื้นฐานทางพืชเกษตรเขตร้อน
สามารถพัฒนาต่อยอดโครงสร้างธุรกิจการเกษตรด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่ม ขับเคลื่อนการเกษตร
ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ให้ความส�าคัญกับการเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและ
มูลค่า และความหลากหลายของสินค้าเกษตร เพื่อรักษาฐานรายได้เดิมและสร้างฐานอนาคตใหม่
ที่สร้างรายได้สูงทั้งเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป และ
เกษตรอัจฉริยะ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น
การเกษตร 4.0 ภายใต้วิสัยทัศน์เชิงนโยบายขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศไทย 4 ด้าน เน้นการสร้างมูลค่า (Value-Based Economy) ซึ่งในมิติที่
2 คือ ความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในสังคม (Social Well-beings) ลดความเหลื่อมล�้าที่เป็นปัญหา
ฝังในสังคมไทยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศชาติ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยี
การเกษตรเพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น ยกระดับธุรกิจเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชมด้วย
เทคโนโลยีนวัตกรรม สร้างระบบสวัสดิการสังคมภายใน 20 ปี
นวัตกรรม หมายถึงการน�าสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นทั้งแนวความคิด สิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือเป็นการ
พัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มาใช้ให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ให้มากที่สุด และเทคโนโลยีนั้น ในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความ
หมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการน�าเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้
เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม และเมื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตร
ประสมกันจะมีความหมายว่าการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยต่างๆ เข้ากับการเกษตร
กรรม เพื่อพัฒนากระบวนการให้เป็นนวัตกรรมทางการเกษตรควบคุมปัจจัยการเติบโตเพิ่ม
ผลผลิตของพืชให้แก่เกษตรกร หรือการแปรรูปให้ได้มูลค่าเพิ่มขึ้น สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้
แก่กลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน
เห็ด (Mushroom) หรือ ฟังไจ (Fungi) เป็นสิ่งที่มีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีความส�าคัญทางด้าน
เศรษฐศาสตร์ มีความต้องการสูง จ�าหน่ายง่าย มีช่องทางการจ�าหน่ายอย่างเปิดกว้าง ให้ประโยชน์
ด้านอาหาร และสมุนไพร นิยมบริโภคทั้งเห็ดที่มีตามธรรมชาติ และเห็ดที่สามารถเพาะได้ เพื่อ
ให้การบริโภคเห็ดมีความปลอดภัย ควรเลือกบริโภคเห็ดที่สามารถเพาะได้ อีกทั้งยังสามารถน�า
ไปเพาะเป็นอาชีพเสริมได้ เป็นเห็ดที่เพาะง่ายให้ผลผลิตตอบแทนคุ้มค่า
158 < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น