Page 37 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 37

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการ

                                      พัฒนาท้องถิ่น โดยมีพื้นที่ที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
             บทน�าดูแลจ�านวน 3 จังหวัด คือ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และ
           จังหวัดสระบุรี ซึ่งทั้ง 3 พื้นที่นี้ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการปลูกและ

           แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรจ�านวนมาก เช่น ข้าว ผลไม้ สมุนไพร เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
           การแปรรูปสมุนไพร ซึ่งเป็นสมุนไพรประจ�าถิ่น เช่น ขิง ข่า ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น จาก

           ข้อมูลการส�ารวจพื้นที่ชุมชน และวิสาหกิจชุมชน ใน 3 จังหวัด พบว่าจังหวัดลพบุรีมีการปลูกและ
           แปรรูปสมุนไพรค่อนข้างมาก โดยเฉพาะขมิ้นชัน และฟ้าทะลายโจร ซึ่งผู้วิจัยได้ท�าการส�ารวจ
           พื้นที่วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดลพบุรีหลายแห่งพบว่า วิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหาร

           สานประชา เป็นแหล่งรวบรวมสมุนไพรเพื่อน�ามาท�าแห้งและจ�าหน่ายไปยังผู้รับซื้อ และวิสาหกิจ
           ชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่ทหารสานประชาได้มีการปลูกและท�าการแปรรูปสมุนไพรด้วยวิธี

           การท�าแห้งหลักๆอยู่ 2 ชนิด คือ ขมิ้นชัน และฟ้าทะลายโจร โดยเฉพาะการปลูกและแปรรูปฟ้า
           ทะลายโจร จากข้อมูลที่ท�าการส�ารวจพบว่าฟ้าทะลายโจรที่แปรรูปด้วยวิธีการท�าแห้งโดยการตาก
           แห้งตามธรรมชาติท�าให้ปริมาณสารส�าคัญในฟ้าทะลายโจรแห้งที่ได้มีปริมาณน้อย สารส�าคัญของ

           ต้นฟ้าทะลายโจรจะอยู่ทั้งภายในใบและล�าต้น ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มจ�าพวกแลคโตน (lactones)
           ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) ซึ่งเป็นสารส�าคัญที่แพทย์ใช้ในการรักษา และ

           ยับยั้งการระบาดของโรคติดต่อ COVID-19 โดยมีการระบาดไปในหลายทวีป หรือทั่วโลกจนถึง
           ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ที่มีความต้องการและรับซื้อฟ้าทะลาย
           โจรแห้งดังกล่าว โดยเฉพาะฟ้าทะลายโจรแห้งจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวิชาชีพเกษตรอินทรีย์ไร่

           ทหารสานประชา ที่มีการปลูกฟ้าทะลายโจรแบบอินทรีย์ซึ่งไม่ใช้สารเคมีในการปลูก ท�าให้ผู้
           บริโภคมั่นใจว่าเป็นฟ้าทะลายโจรที่มีคุณภาพ จากผลการทดสอบปริมาณสารส�าคัญนี้พบว่ามี

           ปริมาณน้อยดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงท�าให้เกิดอุปสรรคในการขายฟ้าทะลายโจรแห้งของกลุ่ม
           ท�าให้ทางกลุ่มขาดรายได้ รวมถึงต้นทุนของการปลูกฟ้าทะลายโจร ดังนั้นในโครงการนี้ ผู้ด�าเนิน
           โครงการจะท�าการศึกษา และปรับปรุงกระบวนการอบแห้งฟ้าทะลายโจรเพื่อให้คงเหลือปริมาณ

           สารส�าคัญของฟ้าทะลายโจรให้สูงกว่าการตากแห้งตามธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการอบแห้ง
           สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ก่อให้เกิดการเพิ่มรายได้ของกลุ่มเกษตรกรผู้แปรรูปฟ้าทะลายโจร และ

           ได้ฟ้าทะลายโจรที่มีคุณภาพ


           วัตถุประสงค์ของโครงการ

                  1. เพื่อพัฒนาการแปรรูปฟ้าทะลายโจรด้วยการอบแห้งด้วยระบบอบแห้งพลังงานแสง
           อาทิตย์

                  2. เพื่อสนับสนุนการอบแห้งฟ้าทะลายโจรให้ได้คุณภาพโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์



           36    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42