Page 32 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 32
กระบวนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพของสบู่ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเงื่อนไข
ประการส�าคัญในการขอการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ สามารถน�าไปเป็นจุดขายเพื่อยกระดับ
การแข่งขันในอนาคต
3. การพัฒนาต้นแบบสบู่
การพัฒนาต้นแบบสบู่สมุนไพรน้อยหน่าพระที่นั่งเย็น ตราบ้านนั่งเย็น ชุมชนได้รับ
การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการท�าสบู่สมุนไพรน้อยหน่าจากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เวชส�าอางค์
แบรนด์ “ผ่อง” ซึ่งเป็นแบรนด์เวชส�าอางสมุนไพรที่ได้รับมาตรฐานโอทอป โดยสมาชิกกลุ่มสตรี
พระที่นั่งเย็นได้ทดลองผลิตสบู่สมุนไพรน้อยหน่าผสมสารสกัดจากใบน้อยหน่าพระที่นั่งเย็นด้วย
กรรมวิธีแบบพื้นบ้าน และคณะผู้วิจัยสนับสนุนในเรื่องการทดลองทางวิทยาศาสตร์
1) คณะผู้วิจัยได้น�าสารสกัดจากสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมในสบู่มาสกัดเพื่อวิเคราะห์
องค์ประกอบสารสกัด ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเคมีของสารสกัดพืชสมุนไพรที่ใช้เป็น
ส่วนประกอบในการท�าสบู่ ซึ่งประกอบด้วย ใบน้อยหน่า ใบยานาง ใบระรุม และว่านหางจระเข้
ที่สกัดด้วยน�้าและแอลกอฮอล์ 95เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธี Gas chromatography-mass spectrom-
etry (GC-MS) ผลการวิเคราะห์ พบว่า
ผลสารสกัดด้วยน�้า พบสารทั้งหมด 9 ชนิด โดยสารที่พบมากที่สุด ได้แก่ adipic
acid, cyclic tetramethylene ester เท่ากับ 7.102 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ cyclopen-
tanecarboxylic acid, 2-oxo-, ethyl ester เท่ากับ 3.514 เปอร์เซ็นต์ และ beta sitoster-
ol เท่ากับ 3.345 เปอร์เซ็นต์ ตามล�าดับ
ผลสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 95เปอร์เซ็นต์ พบสารทั้งหมด 21 ชนิด โดยสารที่พบ
มากที่สุด ได้แก่ Phytol เท่ากับ 20.118 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ Ethy 9,12,15-octade-
catrienoate เท่ากับ 10.608 เปอร์เซ็นต์ และ Stigmast-5-en-3-ol เท่ากับ 8.911 เปอร์เซ็นต์
ตามล�าดับ ซึ่งสารดังกล่าวเป็นสารในกลุ่มที่สามารถพบได้ในพืชสมุนไพร ไม่มีอันตรายในการน�า
มาใช้เป็นสบู่
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 31