Page 29 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 29
ผลิตสบู่เป็นยังไม่ได้มาตรฐานแต่อย่างใด นอกจากนั้น ชุมชนยังได้รับการสนับสนุนด้านการ
พัฒนาบรรจุภัณฑ์ส�าหรับสบู่น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัด
ลพบุรี ซึ่งเป็นโครงการการวิจัย เรื่อง การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อสารตราสินค้าสบู่สมุนไพร
น้อยหน่าของกลุ่มอาชีพท�าสบู่ทะเลชุบศร จังหวัดลพบุรี ท�าให้ปัจจุบันชุมชนบ้านทะเลชุบศรมี
ผลิตภัณฑ์ชุมชน “สบู่น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น” ที่สามารถสื่อสารอัตลักษณ์ของชุมชน เนื่องจาก
ผลิตโดยคนในชุมชน และใช้วัสดุในท้องถิ่น เป็นรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เมื่อพิจารณาโอกาสทางการตลาดของสบู่น้อยหน่า
พระที่นั่งเย็น ที่ผลิตโดยกลุ่มบ�าเพ็ญประโยชน์ชุมชน
ทะเลชุบศรนั้น พบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นส�าคัญ
ที่สามารถพัฒนาเป็นจุดขายทางการตลาดได้ โดย
เฉพาะการมีส่วนผสมสารสกัดจากใบน้อยหน่าสาย
พันธุ์พื้นเมืองของบ้านทะเลชุบศร ซึ่งชาวบ้านปลูก
มาช้านานตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็น
ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ที่ไม่ซ�้าแบบใคร
อย่างไรก็ตาม ในการรับรู้ของผู้อุปโภคบริโภค
คุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นองค์ประกอบส�าคัญต่อการ
ตัดสินใจซื้อและทดลองใช้ หากยังไม่สามารถท�าให้ผู้อุปโภค
เกิดความเชื่อในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ ธุรกิจก็มีโอกาสสูงที่จะไม่ประสบ
ความส�าเร็จ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์สบู่น้อยหน่าพระที่นั่ง
เย็นของกลุ่มสตรีพระที่ นั่งเย็น ซึ่งเป็นการต่อยอดจากโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
ส�าหรับสบู่น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ประจ�าปี พ.ศ. 2565 โดยโครงการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์สบู่น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น จะน�า
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตสบู่น้อยหน่าพระที่นั่งเย็น
ให้ได้มาตรฐาน โดยจะมีการพัฒนาสูตรและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อ
สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของสบู่แก่ผู้อุปโภคบริโภคได้ว่าสบู่น้อยหน่าพระที่นั่งเย็นมี
กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และตัวผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติ/สรรพคุณเป็นไปตามที่ได้กล่าวอ้าง
ไว้ และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้จริง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค โดยเมื่อด�าเนิน
โครงการแล้วเสร็จ จะท�าการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตสบู่น้อยหน่าที่ได้มาตรฐานแก่ชุมชน
โดยค�านึงถึงกระบวนการที่มีความเหมาะสมกับศักยภาพของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถท�าได้
และน�าไปสร้างธุรกิจได้จริง กล่าวโดยสรุป โครงการนี้จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตัวผลิตภัณฑ์
ซึ่งจะเป็นปัจจัยส�าคัญต่อการตัดสินใจของผู้อุปโภคบริโภค รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ชุมชน
และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดและสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
28 < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น