Page 28 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 28

ทิศทางการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน มุ่งเป้าไปที่การส่งเสริม

                                             ศักยภาพให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งเพื่อกระตุ้นให้เกิดการ
                    บทน�าสร้างงานสร้างอาชีพให้กับสมาชิกในชุมชนที่มีความยั่งยืน และ
                  สามารถพึ่งพาตนเองได้ ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมไปถึงการพัฒนาความ

                  สามารถของประชาชนในชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็น
                  แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ (Creative economy) เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

                  ของประเทศให้มีความมั่นคงยั่งยืนและมีความสมดุล เนื่องจากเป็นการพัฒนาจากฐานราก และ
                  อยู่บนพื้นฐานของการน�าเอาวัฒนธรรมและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาต่อยอดในเชิงสร้างสรรค์
                  โดยน�ามาดัดแปลงและพัฒนา สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม สามารถตอบ

                  โจทย์ผู้บริโภคได้มากขึ้น
                         ปัจจุบันชุมชนท้องถิ่นจ�านวนมากเกิดความตื่นตัวขานรับแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจ

                  ฐานรากเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ หนึ่งในนั้นคือกลุ่มสตรีพระที่นั่งเย็น ต�าบลทะเล
                  ชุบศร อ�าเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนบ้านทะเลชุบศร เพื่อพัฒนา
                  และส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกภายในกลุ่ม ผลักดันให้สมาชิกกลุ่มเป็นผู้ประกอบการรายย่อย โดย

                  เน้นการน�าทรัพยากรในชุมชนมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนและต่อยอดทางธุรกิจ โดยปัจจุบัน
                  มีผลิตภัณฑ์ชุมชนของที่ได้รับการพัฒนา ได้แก่ สบู่น้อยหน่า ซึ่งความพิเศษของสบู่น้อยหน่าของ

                  กลุ่มสตรีพระที่นั่งเย็น ได้แก่ ส่วนผสมจากสารสกัดจากใบน้อยหน่าพันธุ์พระที่นั่งเย็น หรือบาง
                  คนเรียกน้อยหน่าพระนารายณ์ เป็นน้อยหน่าสายพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดลพบุรีที่ชาวชุมชนทะเล
                  ชุบศรปลูกมาช้านานตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ จวบจนถึงปัจจุบันน้อยหน่าพระที่นั่งเย็น

                  มีอายุกว่า 300 ปีแล้ว  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แห่งกรุง
                  รัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงมีพระราชด�าริให่น้อยหน่าพันธุ์ดั้งเดิมนี้ไว้ โดยให้น�ามาปลูกบริเวณ

                  พระที่นั่งเย็นและบริเวณโดยรอบ จ�านวน 40 ไร่ รสชาติของน้อยหน่าพระที่นั่งเย็นเป็นน้อยหน่า
                  ฝ้ายฝ้ายผลใหญ่ เมล็ดฟูขาวเหมือนปุยฝ้าย รสชาติหวานหอมเป็นเอกลักษณ์ ออกผลผลิตช่วง
                  เดือนมิถุนายนจนถึงสิงหาคม เป็นที่นิยมของตลาดมาก ปัจจุบันจังหวัดลพบุรีจึงได้ส่งเสริมให้

                  ท�าการอนุรักษ์น้อยหน่าพันธุ์พระที่นั่งเย็นให้เป็นสินค้าของดีประจ�าจังหวัดลพบุรี
                         ส�าหรับกลุ่มสตรีพระที่นั่งเย็นได้น�าน้อยหน่าพระที่นั่งเย็นซึ่งเป็นผลผลิตในพื้นที่มาต่อ

                  ยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สบู่น้อยหน่า เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเนื่องจากในทางต�ารับยา
                  โบราณ น้อยหน่ามีสารที่ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเป็นยารักษาปัญหาผิวพรรณ (เช่น ลดอาการ
                  คันจากแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กลากเกลื้อน เป็นต้น) กลุ่มสตรีพระที่นั่งเย็นจึงผสมสารสกัด

                  จากใบน้อยหน่าพระที่นั่งเย็น โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้การท�าสบู่น้อยหน่าจากการศึกษา
                  นอกโรงเรียนและผู้ประกอบการเครื่องส�าอางสมุนไพรในชุมชนทะเลชุบศร โดยคาดหวังจะผลัก

                  ดันให้เป็นสินค้าชุมชนที่สื่อสารถึงอัตลักษณ์ของชุมชน แต่อย่างไรก็ตามสูตรและกระบวนการ



                                103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น  >    27
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33