Page 23 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 23

ข้าวไรซ์เบอรี่ (Riceberry) เป็นข้าวที่เกิดขึ้นใหม่ จากการผสม

                                      ข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลและข้าวขาวดอกมะลิ 105 มี
             บทน�าลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีส่วน
           ประกอบเป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งก็คือรงค์วัตถุหรือสารสี ที่สามารถละลายน�้าได้ดี และจัดอยู่

           ในกลุ่มของฟลาโวนอยด์หรือสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณค่าทางอาหาร  โดยมีจุลินทรีย์โปรไบโอ
           ติกกระตุ้นให้มีการสร้างสารในการต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกัน

           มะเร็ง และผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการเพิ่มมูลค่าจากข้าวไรซ์เบอรี่ได้รับการวิจัยและพัฒนาไปในอีก
           หลากหลายรูปแบบ (Ito and Ishikawa, 2004) จากการสัมภาษณ์ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
           การผลิตข้าวปลอดสารพิษ พันตรี พิจิตร ประคองศรี ผู้ก่อตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตข้าว

           ปลอดสารพิษ ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ได้รวบรวมชาวบ้านที่อยู่ใน
           เขตพื้นที่ ต�าบลเขาพระงาม จัดตั้งกลุ่มเพื่อผลิตข้าวปลอดภัยจากสารพิษ โดยได้รับการสนับสนุน

           จากหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น เทศบาลต�าบลเขาพระงาม พัฒนาชุมชนจังหวัดลพบุรี เกษตร
           และสหกรณ์จังหวัดลพบุรี และด�าเนินการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
                  1) การปลูกข้าวและพืชผักได้ตามมาตราฐานการผลิต GAP และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้าน

           การเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ
                  2) การแปรรูปผลผลิตจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสารขัดขาว ข้าวกล้อง ข้าวขาวดอกมะลิ

           105 ข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่
                  3) ผลิตสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ข้าวกล้องงอก น�้าข้าวกล้องงอก ขนม
           เปี๊ย   ข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยทางกลุ่มมีความเข้มเเข็งในด้านการผลิตเพื่อบริโภคภายในชุมชน ขยาย

           สู่นอกชุมชน ภายในจังหวัดและต่างจังหวัด สามารถเเก้ไขปัญหาผลิตข้าวราคาตกต�่า ยังท�าให้
           สมาชิกมีรายได้เพิ่ม สินค้าผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

                  ปัจจุบันตลาดข้าวไรซ์เบอรี่มีจ�านวนผู้ประกอบการภายในท้องถิ่นจังหวัดลพบุรีและ
           ภายนอกจังหวัดลพบุรีเป็นจ�านวนมาก ท�าให้เกิดการแข่งขันสูงในด้านของราคา ทางกลุ่มวิสาหกิจ
           ชุมชนฯ จึงได้มีแนวคิดในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวไรซ์เบอรี่ให้มีความทันสมัยตามวิถีชีวิต

           ของคนรุ่นใหม่ และยังคงคุณภาพและประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอรี่ โดยต้องการสร้างสรรค์
           ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและเพิ่มมูลค่าจากการใช้วัตถุดิบจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ด้วย

           กระบวนการผลิตที่ยังคงคุณค่าของวัตถุดิบ พร้อมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยตาม
           ความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย  จึงต้องการได้รับการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มี
           คุณค่าเพิ่มขึ้น เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคต่อไป











           22    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28