Page 21 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 21

ลูกค้าที่อยู่ในรัศมีไม่เกิน 20 กิโลเมตร ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองลพบุรี   และขอความร่วมมือจากหน่วย
           งานในพื้นที่และจังหวัดเพื่อขอความอนุเคราะห์พื้นที่ได้ทดลองเปิดตัวผลิตภัณฑ์ โดยได้ออก

           จ�าหน่ายนอกสถานที่ เช่น โครงการ หน่วยบ�าบัดทุกข์ บ�ารุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน จังหวัด
           ลพบุรี ปี 2566 ณ วัดบ้านลาด ต�าบลบ้านเบิก อ�าเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี  ออกร้านจ�าหน่ายที่
           ห้างสรรพสินค้า Big C ลพบุรี จัดโดยส�านักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดลพบุรี  ออกร้านจ�าหน่าย ใน
           การประชุมประจ�าเดือนหัวหน้าหน่วยงานอ�าเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ณ ที่ว่าการอ�าเภอท่าวุ้ง



           ผลที่เกิดจากการด�าเนินโครงการ
                  1. สมาชิกกลุ่มได้องค์ความรู้ในการผลิตไส้อั่วไว้รับประทานในครอบครัว
                  2. ได้สูตรและผลิตภัณฑ์ไส้อั่วรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อจ�าหน่าย

                  3. มีการใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์และมีมูลค่า เช่น เครื่องเทศ สมุนไพรที่
           สามารถปลูกเองได้ในสวน
                  4. มีตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ สติกเกอร์  กล่องบรรจุภัณฑ์ไส้อั่วส�าหรับการจ�าหน่ายใน
           รูปแบบต่าง ๆ

                  5. มีสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ไส้อั่วหมู่ 10 บ้านเบิก
                  6. การได้มาท�ากิจกรรมร่วมกันส่งผลให้เกิดความรักสามัคคีในชุมชน เห็นศักยภาพ คุณค่า
           และเกิดความภาคภูมิใจในชุมชน
                  7. การมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ อบต.บ้านเบิก  พัฒนาชุมชนอ�าเภอท่าวุ้ง

           กศ.น.ต�าบลหัวส�าโรง


           ข้อเสนอแนะ
                  1. คุณภาพของเนื้อหมู จะต้องเลือกซื้อร้านจ�าหน่ายเนื้อหมูที่มีคุณภาพจริงๆ โดยต้อง

           บดละเอียดจ�านวน 2 ครั้ง เพื่อให้เนื้อหมูมีความฟูนุ่ม และต้องเป็นร้านที่ไว้วางใจได้ว่าจะไม่น�า
           ส่วนผสมอื่นบดใส่เพื่อลดต้นทุน (เช่นเนื้อไก่ หรือเพิ่มชิ้นส่วนมันหมู)
                  2. พริกแกง  พริกแห้งที่น�ามาใช้แต่ละครั้งจะมีความเผ็ดและการให้สีของพริกแกงแตก
           ต่างกัน  เนื่องจากแต่ละแหล่งผลิตและชนิดของพริกไม่เหมือนกัน ดั้งนั้น จึงต้องซื้อหรือเลือกพริก

           แกงที่เป็นแหล่งผลิตเดิม
                  3. เครื่องปรุงรส  เช่น ซีอิ๊ว ซอส น�้าปลา น�้าตาลทราย เกลือ ฯลฯ แต่ละยี่ห้อมีความ
           เค็มหรือรสชาติแตกต่างกัน จึงต้องใช้เครื่องปรุงรสยี่ห้อเดิม สูตรเดิม
                  4. เครื่องเทศ/สมุนไพร  เช่น ขิง มีรสชาติความเผ็ดแตกต่างกัน  หากเป็นไปได้ต้องขิง

           สายพันธุ์ที่เหมาะส�าหรับน�ามาใช้ในการปรุงอาหาร   ส่วนขมิ้น ส่งผลต่อสีของไส้อั่วด้วย บางครั้ง
           ต้องใส่ผงขมิ้นเพื่อช่วยท�าให้สีของไส้อั่วมีความเหลืองส้ม น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
                  5. การเก็บรักษา เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอายุสั้น จึงต้องแนะน�าผู้บริโภคให้ละเอียด
           ถึงวิธีเก็บรักษาส�าหรับบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ  และการน�าไปปรุงสุกอีกครั้ง เช่น ปิ้ง ย่าง อบ ทอด




           20    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26