Page 15 - งานศิลปหัตถกรรม ลาวแง้ว บ้านหนองเมือง ลพบุรี
P. 15
6 7
ลักษณะของช่างพื้นบ้าน มีดังนี้
๑. เป็นช่างที่ไม่ได้รับการศึกษาจากสถาบันทางการช่าง อย่างเป็นระบบ
คือเป็นช่างชาวบ้านที่ฝึกหัดท�างานช่างมาจากบรรพบุรุษในครอบครัวของตน
หรือฝึกหัดจากเพื่อนบ้านในหมู่บ้านของตน ตามประเภทของงานหัตถกรรม
ที่สนใจ เช่น จักสาน เครื่องปั้นดินเผา แกะสลัก การช่างพื้นบ้านงานที่ชาวชนบท
มักท�าได้แทบทุกครอบครัว เพราะต้องท�าขึ้นใช้สอยในครอบครัวของตนเพื่อ
ใช้เอง จึงมักสืบทอดกันในครอบครัวและสอนกันในหมู่เพื่อนบ้าน การเรียนรู้
จึงเป็นการเรียนด้วยการฝึกฝนเป็นหลัก
๒. ความสามารถของช่างพื้นบ้าน มักไม่ใคร่มีการแสดงออกทางความ
คิดสร้างสรรค์แบบศิลปิน แต่เป็นลักษณะของความสามารถทางด้านทักษะ
เนื่องจากการสร้างงานมักอยู่ในกรอบของขนบนิยมที่สืบทอดกันมากในกลุ่ม
ของตน ทั้งรูปแบบและลวดลาย เพราะมีความผูกพันอยู่กับประเพณี ความเชื่อ
วิถีชีวิตของกลุ่มชนการแสดงออกจึงเน้นไปที่การแสดงทักษะใช้ความละเอียด
ออกมากับผลงาน
๓. ช่างพื้นบ้านจะไม่เขียนชื่อลงบนผลงานของตน เพราะท�าขึ้นเพื่อ
ใช้สอยแลกเปลี่ยนซื้อขายซึ่งต่างไปจากงานของศิลปินที่ต้องเซ็นชื่อก�ากับไว้ใน
ผลงานของตน
โดยสรุปช่างพื้นบ้านจะมีลักษณะเฉพาะที่ส�าคัญคือ เป็นช่างที่ได้รับ
การฝึกฝนและถ่ายทอดการช่างตามแบบแผน ที่เป็นขนบนิยมในท้องถิ่นของตน
อาจได้รับมาจากบรรพบุรุษหรือ ช่างพื้นบ้านในท้องถิ่น โดยมิได้ผ่านการศึกษา
แต่ความสามารถเกิดมาจากทักษะการฝึกฝนที่ต่อเนื่องจนช�านาญ
ช่างพื้นบ้านจะกระจายกันอยู่ตามท้องถิ่นในทุกๆภาคของประเทศ
บางหมู่บ้านจะมีช่างพื้นบ้านที่มีความสามารถในการท�างานช่างประเภทเดียวกัน
ทั้งหมู่บ้าน จนท�าให้หมู่บ้านนั้นกลายเป็นหมู่บ้านช่างไปเลยก็มีไม่น้อย เช่น
บ้านช่างหล่อ ที่มีการหล่อพระพุทธรูป ช่างพื้นบ้านจึงมีความส�าคัญ ในการ
สืบทอดการช่างพื้นบ้านของไทย ให้ด�ารงสืบไป
ศิลปหัตถกรรมของชาติพันธุ์ลาวแง้ว จุติรัช อนุกูล