Page 13 - งานศิลปหัตถกรรม ลาวแง้ว บ้านหนองเมือง ลพบุรี
P. 13

4                                                                                      5



                  พิธีกรรมทางศาสนา เช่น ก่องข้าวขวัญของภาคอีสาน ขันซี่ของภาคเหนือ ฯลฯ
                  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการตอบสนองด้านการใช้สอย มิได้มุ่งท�าเพื่อตอบสนองทางด้าน

                  สุนทรียภาพ หากแต่สุนทรียภาพนั้นจะเกิดจากประสบการณ์ทักษะของผู้ท�า
                  ในความเป็นผู้ช�านาญ
                         ๓. เป็นผลผลิตที่ผู้ใช้และผู้สร้างเป็นผู้เดียวกัน งานศิลปะพื้นบ้านเกิดจาก
                  ความเต็มใจของชาวบ้านในการสร้างสรรค์ โดยมีความจ�าเป็นในการใช้อ�านวย
                  ความสะดวกในชีวิตประจ�าวัน ดังได้กล่าว แล้วว่าศิลปะพื้นบ้านท�าขึ้นเพื่อ

                  ตอบสนองประโยชน์ใช้สอย มิได้มุ่งท�าเพื่อเศรษฐกิจหรือด้านการค้าขาย ไม่มี
                  การแบ่งงานตามระบบของอุตสาหกรรม ชาวบ้านท�าขึ้นเองในครัวเรือนของตน
                         ๔. เป็นงานที่สร้างขึ้นด้วยมือ และใช้เครื่องมือที่ชาวบ้านที่คิดขึ้น มิได้

                  อาศัยเครื่องจักรแต่อย่างใด ชาวบ้านจะสร้างงานด้วยมือตามกรรมวิธีที่สืบทอด
                  กันมาโดยการบอกเล่า ให้ท�าตามแบบของที่มีอยู่
                         ๕. มีรูปแบบเรียบง่าย แสดงลักษณะออกมาซื่อ ๆ ตรงตามหน้าที่ใช้สอย
                  และมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของร่างกาย
                         ๖. การมีรูปแบบเฉพาะถิ่น เกิดจากการสร้างสรรค์งานที่สืบต่อเนื่อง

                  กันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ อาจในลักษณะของหมู่บ้าน ท้องถิ่น ตระกูล สืบต่อกัน
                  มาเป็นเวลายาวนานจนรู้จักกันดีทั่วไป จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น
                  เครื่องจักสานพนัสนิคม เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ร่มบ่อสร้าง เป็นต้น (มารุต

                  อัมรานนท์ ๒๕๓๓: ๕) และอีกปัจจัยหนึ่งที่ท�าให้มีรูปแบบเฉพาะถิ่น น่าจะเกิด
                  จากการใช้วัสดุท้องถิ่นที่มีแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เราจะพบว่าวัสดุจาก
                  ธรรมชาติบางชนิดไม่สามารถขึ้นได้ ในทุก ๆ พื้นที่ การมีทรัพยากรท้องถิ่นที่
                  จ�ากัดในบางพื้นที่ก็จะเป็นสาเหตุที่ท�าให้งานบางชนิด เป็นตัวแทนของท้องถิ่น
                  เลยก็ว่าได้ เช่น หมาตักน�้า ซึ่งเป็นของภาคใต้ ท�ามาจากใบจากกาบหมาก

                  ต้นหลาวโอน ที่มีรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งไม่พบว่าภาคใดหรือท้องถิ่นใดนอกจาก
                  ภาคใต้ที่มีภาชนะตักน�้าที่มีรูปแบบเช่นนี้ หรือเครื่องเขินที่เป็นรูปแบบเฉพาะ
                  ของภาคเหนือ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัสดุพื้นถิ่นที่มีการน�ามาใช้ ได้แก่




            ศิลปหัตถกรรมของชาติพันธุ์ลาวแง้ว                                                                                               จุติรัช อนุกูล
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18