Page 48 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 48
กรรณนุช, 2550) นอกจากนี้ยังเกิดการหมุนเวียนเศษวัสดุธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ “BCG” เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ระบบ
เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการน�าทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการ
ขาดแคลน และสร้างมูลค่าเพิ่มจากการน�าทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ตลอดจนกระบวนการ
ที่ท�าให้ลดขยะหรือของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste) เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในประเทศ
เกิดนวัตกรรมใหม่ เป็นกลไกการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน จากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมี
ประสิทธิภาพ เป็นการพัฒนาให้เกิดการสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ให้มีการใช้
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาด
วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดลพบุรี มีการรวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพเพื่อประกอบกิจกรรมทาง
เศรษฐกิจที่หลากหลาย อาทิ เกษตรอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ท่องเที่ยวเชิง
เกษตร เครื่องปั้น แปรรูปสมุนไพร แปรรูปอาหาร เครื่องจักรสาน เครื่องประดับ เป็นต้น กลุ่ม
ผู้ผลิตข้าวปลอดภัย (โรงสีชุมชน) บ้านหนองกระดี่ จดทะเบียนในชื่อ วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าว
บ้านหนองกระดี่ ต�าบลบางลี่ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 ตั้งอยู่ เลขที่ 53 หมู่ที่ 16 ต�าบลบาง
ลี่ อ�าเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2565) ด�าเนินการปลูกข้าว และให้บริการ
รับสีข้าว รับซื้อข้าว จ�าหน่ายข้าวสาร ร�า ปลายข้าว เป็นหลัก จากการสัมภาษณ์ผู้น�าชุมชน
นายมานัส บัวหอม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 16 บ้านหนองกระดี่ ต�าบลบางลี่ อ�าเภอท่าวุ้ง ได้ให้ข้อมูลว่า
กลุ่มวิสาหกิจมีรายได้หลักจากการท�านา ปีละ 2 ครั้ง โดยหลังการเก็บเกี่ยวและน�าเมล็ดข้าวออก
แล้วจะเหลือฟางข้าว เกษตรกรบางส่วนจะจ�าหน่ายฟางข้าวให้กับพ่อค้าเพื่ออัดฟางข้าวเป็นก้อน
ในราคา 100บาท/ไร่ ซึ่งได้ราคาค่อนข้างถูก และเกษตรกรบางส่วนใช้วิธีการเผาฟางแทนการ
ไถกลบตอซังเพราะเร่งท�านา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวข้างต้น
จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้ร่วมโครงการจึงสนใจในการท�าโครงการบริการวิชาการ เรื่อง
การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ฟางข้าวอัดเม็ดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้แนวคิด
เศรษฐกิจหมุนเวียน ของวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านหนองกระดี่ ต�าบลบางลี่ อ�าเภอท่าวุ้ง จังหวัด
ลพบุรี เพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และเกิดการหมุนเวียนเศษวัสดุ
ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดปัญหาการเผาฟางของเกษตรกรในพื้นที่ต�าบลท่าวุ้ง
อ�าเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี โดยอาศัยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ฟางข้าวอัดเม็ดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสู่เชิงพาณิชย์ให้กับ
ฟางข้าวภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านหนองกระดี่
ต�าบลท่าวุ้ง อ�าเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
2. เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ฟางข้าวอัดเม็ดด้วยกลไกการ
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 47