Page 111 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 111

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้น้อมน�าพระ

                                      ราโชบาย ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลง
             บทน�ากรณบดินทรเทพยวรางกูร  รัชกาลที่  10  ด้านโครงการ
           ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา

           เพื่อความยั่งยืน โดยขับเคลื่อนและด�าเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการ
           พัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีจึงได้ให้ความส�าคัญกับอาหาร

           ปลอดภัย โดยครอบคลุมตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร กระบวนการผลิต
           อาหาร การจัดจ�าหน่าย ไปจนถึงสถานที่ประกอบหรือจ�าหน่ายอาหารที่มีความปลอดภัย
                  วิสาหกิจชุมชนอาหารปลอดภัยอ�าเภอพัฒนานิคม เป็นกลุ่มที่เกิดจากความร่วมมือกัน

           ของชาวบ้านและเกษตรกรอ�าเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ที่เพาะปลูกพืชผักผลไม้และผลิตภัณฑ์
           อาหารที่ปลอดภัย โดยอาศัยหลักของเกษตรอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชาวบ้านและ

           เกษตรกรอ�าเภอพัฒนานิคม ผลิตภัณฑ์ที่ทางวิสาหกิจชุมชนอาหารปลอดภัยอ�าเภอพัฒนานิคม
           ท�าการผลิตมีหลายอย่าง ได้แก่ การเพาะปลูกผักและสมุนไพรอินทรีย์ ได้แก่ ฟักทอง ผักเชียงดา
           ผักคะน้าชายา เป็นต้น ผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่ น�้าพริกต่างๆ หน่อไม้ดองอินทรีย์ ถ้วยฟูฟักทอง

           คุกกี้ธัญพืช สลัดโรล เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ของทางวิสาหกิจชุมชนฯ ได้มีการสร้างรายได้และ
           เป็นที่รู้จักในอ�าเภอพัฒนานิคม จากการลงพื้นที่เพื่อส�ารวจบริบทและความต้องการของวิสาหกิจ

           ชุมชนอาหารปลอดภัยอ�าเภอพัฒนานิคม พบว่าฟักทองเป็นผลิตผลทางเกษตรอินทรีย์ที่มีการ
           เพาะปลูกและมีผลผลิตจ�านวนมาก โดยทางวิสาหกิจชุมชนฯ น�าฟักทองมาแปรรูปเป็นขนมถ้วย
           ฟูฟักทองเพื่อจ�าหน่ายในชุมชน แต่ขนมถ้วยฟูมีอายุการเก็บรักษาที่ค่อนข้างสั้นสามารถเก็บรักษา

           ได้เพียงแค่ 2-3 วัน ท�าให้ไม่สามารถส่งไปจ�าหน่ายในพื้นที่ต่างๆหรือจัดส่งไปยังต่างจังหวัดได้
           ทางวิสาหกิจชุมชนฯ มีความต้องการให้สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารน�าองค์

           ความรู้มาช่วยยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ขนมถ้วยฟูฟักทอง
                  จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ร่วมกันในเบื้องต้น พบว่าการยืดอายุการเก็บรักษาขนม
           ถ้วยฟูฟักทองจะต้องมีการปรับสูตรส่วนผสมและกระบวนการผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และ

           โลโก้สินค้าที่เหมาะสม การทดลองเก็บรักษาในสภาวะแช่เย็นหรือแช่แข็งเพื่อประเมินอายุของ
           ผลิตภัณฑ์ และการวัดคุณภาพทางกายภาพ เคมี จุลินทรีย์และประสาทสัมผัสกับผู้บริโภคให้เป็น

           ไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน  ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีแนวทางบริการวิชาการร่วมกับการวิจัย
           โดยใช้องค์ความรู้ที่บูรณาการหลายศาสตร์ร่วมกันระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
           กับชีววิทยา และอุตสาหกรรมศิลป์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย

           และยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ขนมถ้วยฟูฟักทอง รวมถึงถ่ายทอดการองค์ความรู้สู่ชุมชน ส่ง
           ผลให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้






           110    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116