Page 74 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 74
จากเหตุผลข้างต้นจึงมีแนวคิดที่จะลดและสร้างมูลค่าเพิ่มวัสดุเหลือทิ้งจากการฟาร์ม
เลี้ยงไก่ โดยน�ามูลไก่แกลบมาพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์และถ่านชีวภาพ และน�ามาประยุกต์เพื่อใช้
ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ในดินและเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินเพาะปลูกบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม
ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการใส่ปุ๋ยและส่งผลต่อผลผลิตที่มากขึ้นและน�ามาสู่การมีรายได้เพิ่ม
ขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ผลผลิตของเกษตรกรปลอดสารเคมี ซึ่งจะเป็นแนวทางและ
การเริ่มต้นในการท�าการเกษตรแบบสมัยใหม่ที่เป็นเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ โครงการ
นี้นอกจากจะเป็นการขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อปรับเปลี่ยนระบบ
การเกษตรของชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงให้กับชุมชน-ครัวเรือน
ที่สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ปลอดภัย และสร้างแนวคิดให้ชุมชนสามารถด�าเนินชีวิต
ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อลดปริมาณวัสดุเหลือทิ้งจากการท�าเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งจากการท�าเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์
3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนอย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ด�าเนินโครงการ
1. ฟาร์มไก่เนื้อบุญช่วยฟาร์ม 107 หมู่ 6 ต�าบลหนองบัว อ�าเภอพัฒนานิคม จังหวัด
ลพบุรี
2. กลุ่ม 9 พอเพียงฟาร์ม ต�าบลหัวปลวก อ�าเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
3. กลุ่มเกษตรกรหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ท่าเดื่อน้อย ต�าบลนิคมสร้างตนเอง อ�าเภอเมือง
จังหวัดลพบุรี
ระยะเวลาด�าเนินโครงการ
ธันวาคม 2565 - สิงหาคม 2566
วิธีด�าเนินโครงการ
1. ตัวอย่างวัสดุเหลือทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์และเกษตรกรรม
1.1 วัสดุเหลือทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์ มูลไก่แกลบ จากฟาร์มไก่เนื้อบุญช่วย 107 หมู่
6 ต�าบลหนองบัว อ�าเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และน�ามาตากแดดให้แห้ง
1.2 วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรกรรม ก้อนเห็ดเก่า จากกลุ่ม 9 พอเพียงฟาร์ม
ต�าบลหัวปลวก อ�าเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี และน�ามาตากแดดให้แห้ง
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 73