Page 73 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 73

ปัญหาที่พบในพื้นที่ท�าการเกษตรของจังหวัดลพบุรี ส่วนมาก
                                      เกิดจากดินมีปริมาณธาตุอาหารต�่าและส่งผลกระทบต่อผลผลิต

             บทน�าของเกษตรกร  ท�าให้เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุ
           ปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินแต่ละครั้งจ�านวนมาก และจากปัญหาปุ๋ยแพงและ

           ปุ๋ยขาดแคลนจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ท�าให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
           มาก จากปัญหาดังกล่าวท�าให้รัฐบาลมีการส่งเสริมให้มีการท�าวัสดุปรับปรุงดินหรือปุ๋ยจากวัสดุ
           ที่มีในท้องถิ่นมาทดแทน และสอดคล้องกับการท�าการเกษตรแบบสมัยใหม่ที่เป็นเกษตรปลอดภัย

           และเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นการขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model (Bio-Cir-
           cular-Green Economy) โดยเป็นการผสมผสานระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ

           หมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศ คือ ประสิทธิภาพ
           สูง มาตรฐานสูง และรายได้สูง โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์
           จากวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

                  จังหวัดลพบุรีมีการท�าเกษตรกรรมในพื้นที่ปริมาณมาก เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่
           ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ท�าไร่ ท�านา และการเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงไก่และสุกรเป็นต้น

           ท�าให้มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจ�านวนมาก มูลไก่แกลบที่เป็นวัสดุเหลือใช้จากการเลี้ยงไก่ของ
           ฟาร์มไก่เนื้อบุญช่วย (ปริมาณไก่ 60,000 ตัว) เนื่องจากจะต้องใช้แกลบเป็นวัสดุรองพื้นในการ
           ขับถ่าย ในแต่ละรอบของการเลี้ยงไก่เนื้อจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน รวมระยะเวลาการพักเล้า

           ใน 1 ปี จึงสามารถเลี้ยงไก่เนื้อได้ประมาณ 3-4 ครั้ง ในแต่ละรอบของการเลี้ยงจะมีมูลไก่แกลบ
           ที่ใช้แกลบเป็นวัสดุรองพื้นโรงเรือน ท�าให้เกิดมูลไก่แกลบปนเปื้อนอยู่เป็นจ�านวนมากที่ต้องก�าจัด

           ทิ้งออกจากพื้นที่โรงเลี้ยงไก่ เนื่องจากกลิ่นแอมโมเนียจากมูลไก่เป็นตัวดึงดูดแมลงวันมาวางไข่
           และท�าให้เกิดเป็นพาหะของเชื้อโรคในไก่หลายชนิด จากข้อมูลงานวิจัยพบว่ามูลไก่แกลบมีปริมาณ
           อินทรีย์วัตถุ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูง ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมอย่างมากที่

           จะน�ามูลไก่แกลบมาพัฒนาเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม
                  ถ่านชีวภาพ เป็นถ่านที่ผลิตจากวัตถุดิบชีวมวล นิยมผลิตจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น แกลบ

           ฟางข้าว กากอ้อย ข้าวโพด จาวปาล์ม เศษไม้ เหง้ามันส�าปะหลัง เป็นต้น (สุนันทา เศรษฐ์บุญ
           สร้าง, 2562)  คุณสมบัติของถ่านชีวภาพที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่น�ามาใช้  ถ่านชีวภาพมี
           คุณสมบัติที่เก็บความชื้นในดินที่สามารถเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชและท�าให้เกิด

           การย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้เร็ว สามารถกักเก็บธาตุอาหารที่เป็น
           ประโยชน์ต่อพืชโดยไม่มีการสูญเสียจากการพัดพาของน�้า เนื่องจากถ่านชีวภาพ มีความเป็นรู

           พรุนและพื้นผิวอีกทั้งของถ่านชีวภาพมีหมู่ฟังก์ชันที่หลากหลายท�าให้สามารถก�าจัดสารปนเปื้อน
           ที่อยู่ในดินและน�้าได้






           72    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78