Page 67 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 67

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน มุ่ง

                                      วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาท้อง
             บทน�าถิ่น และสร้างความร่วมมือกับชุมชนทั้งในด้านการวิจัย และการ
           บริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏมุ่งเน้นให้ชุมชนในพื้นที่ได้รับการพัฒนา

           อย่างยั่งยืนภายใต้บริบทของท้องถิ่นและศักยภาพของมหาวิทยาลัย ถือเป็นยุทธศาสตร์ส�าคัญ
           โดยโครงการวิจัยนี้ได้ด�าเนินโครงการในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบของ

           มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้แก่ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี หรือ 3 บุรี
                  วิสาหกิจชุมชนคนหัวใจอินทรีย์บ้านน�้าซับ อ�าเภอพัฒนานิคม เกิดจากการรวมกลุ่มกัน
           ของเกษตรกรในพื้นที่อ�าเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยมีสมาชิกประกอบอาชีพเกษตรกรรม

           ทั้งหมด 19 ครัวเรือน ทางกลุ่มฯ โดยมีจุดมุ่งหมายในการท�าการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี และใช้ปุ๋ย
           จากธรรมชาติ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้

           สมาชิกในกลุ่มฯ มีการน�าพืชผลทางการเกษตรของกลุ่มฯ ที่เหลือจากการจ�าหน่ายสดมาแปรรูป
           เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อจ�าหน่าย เป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว มีการออกบูทเพื่อ
           จ�าหน่ายในโรงพยาบาล ตลาด งานเทศกาลต่างๆ และมีหน้าร้านเพื่อจ�าหน่ายผลผลิต และ

           ผลิตภัณฑ์จากกการแปรรูปด้วย
                  จากการลงพื้นที่เพื่อส�ารวจพบว่า สมาชิกกลุ่มฯ มีการปลูกพืชผักอินทรีย์ อาทิเช่น ผัด

           สลัด ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนผักบุ้ง มะนาว ฟัก แฟง คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว พริก ขี้เหล็ก
           หน่อไม้ บวบ มะม่วง มะละกอ ฟักทอง และมะกรูด เป็นต้น  และพบว่าผลผลิตส่วนใหญ่สามารถ
           จ�าหน่ายได้ดี และมีความต้องการให้ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ค่อยมีราคา ได้แก่

           ผลมะกรูด โดยพบว่า สมาชิกกลุ่มฯ ทุกครัวเรือน มีการปลูกต้นมะกรูดเพื่อตัดใบและเก็บผล
           มะกรูดจ�าหน่าย โดยมีต้นมะกรูดรวมกันมากกว่า 200 ต้น ซึ่งใบมะกรูดจะจ�าหน่ายได้ง่ายและมี

           ราคาดีกว่าลูกมะกรูด ซึ่งส่วนใหญ่ขายไม่ได้และราคาตกต�่า
                  จากโจทย์ปัญหาและความต้องการดังกล่าว ทางผู้วิจัยฯจึงมีแนวคิดว่าจะน�าผลมะกรูด
           สดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลมะกรูด รวมทั้งพัฒนาบรรจุภัณฑ์และ

           ฉลากให้มีความสวยงาม ทันสมัย โดยน�าองค์รู้ของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการ
           อาหารมาใช้ในการแก้ปัญหาในด้านการผลิต ด้านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และสร้างบรรจุ

           ภัณฑ์ที่เหมาะสม ผลส�าเร็จโครงการนี้จะท�าให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กลุ่มวิสาหกิจฯ เป็นการสร้าง
           รายได้เพิ่มให้กับสมาชิกฯ และเพื่อให้กลุ่มฯมีสินค้าจ�าหน่ายเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่มีความ
           นิยมในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารจากเกษตรอินทรีย์











           66    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72