Page 82 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 82
2. น�าผลการส�ารวจความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ
บรรจุภัณฑ์ต้นแบบ ดังนี้
2.1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์
จากผลการส�ารวจสรุปได้ว่าผู้บริโภคต้องการพัฒนาสินค้าจากกะลา ให้สามารถน�า
ไปใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และตราสินค้าสื่อความหมายได้ดี โดยด้าน
ที่ควรปรับปรุง คือให้สินค้ามีความแข็งแรง ทนทาน ใช้ได้นาน มีความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่าง
สินค้าจากกะลา บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้า และมีความปลอดภัยสอดคล้องตามมาตรฐาน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คณะท�างานร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์จาก
กะลามะพร้าวบ้านโปร่งเกตุ ได้ร่วมกันพิจารณาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์จากผลการ
ส�ารวจดังกล่าว ในการวิเคราะห์ร่วมกัน พบประเด็นดังนี้
1. ปัจจุบันอยู่ในสภาวะผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตจากโรคระบาด รัฐบาลเร่งพัฒนา
ฟื้นฟูประเทศ ทางหนึ่งคือรณรงค์ให้ประชาชนพึ่งพาตนเอง
2. รัฐบาลรณรงค์ให้ประชาชนพึ่งพาตนเองใช้ชีวิตที่ถูกสุขลักษณะตามหลัก
สาธารณสุข ให้มีชีวิตมีความปลอดภัย ปลอดจากภาวะความเสี่ยงต่างๆ
3. แม้ว่าปัจจุบันอยู่จะผ่านพ้นสถานการณ์วิกฤตจากโรคระบาดไวรัสโคโรน่า แต่ก็
ยังคงมีการเจ็บป่วยจากเชื้อดังกล่าว รัฐบาลจึงสนับสนุนให้ประชาชนรักษาความปลอดภัยตนเอง
ด้วยการสวมใส่แมส เมื่อต้องพบปะผู้อื่นหรืออยู่ในที่สาธารณะ
จากการวิเคราะห์สถานการณ์
ดังกล่าว จะเห็นจุดส�าคัญคือการพึ่งพิงตนเองให้
ปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยให้ตนเอง ทั้ง
ทางลมหายใจ และการรับประทานอาหารที่
ปลอดภัย อาหารที่ปลอดภัยมาจากการสร้าง
อาหารด้วยตนเอง ทางหนึ่งคือการปลูกพืชเพื่อ
เป็นอาหาร จึงพิจารณาน�ากะลามะพร้าวมา
พัฒนาเป็นกระถางต้นไม้ อันเป็นการส่งเสริมให้
ประชาชนปลูกพืชเพื่อการบริโภคด้วยตนเอง
และสร้างอาหารสุขภาพให้ตนเองครอบครัว
ประกอบกับน�าผลการศึกษาที่
พบว่า ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่สามารถน�าไปใช้
ประโยชน์ได้จริง และใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
ให้สินค้ามีความแข็งแรง ทนทาน ใช้ได้นาน
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 81