Page 167 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 167
ต้องการของตลาดมากขึ้น (กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2558)
นอกจากวิธีการป้องกันเชื้อราแล้ว เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้สารเคลือบ
เส้นเชือกก่อนกระบวนการขึ้นรูป พบว่าไมโครแวกซ์ (ไมโครคริสตัลไลน์ แว็กซ์) เป็นสารเคลือบ
ชนิดหนึ่งที่มีสมบัติกันน�้า สามารถเพิ่มความเงา ป้องกันเหงื่อ และความคงทนให้กับเส้นเชือกได้
(โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล และ อรวลัภ์ อุปถัมภานนท์, 2564) อีกทั้งมีคุณสมบัติเหนือจากแวกซ์ชนิด
อื่น คือ มีเนื้อสัมผัสที่เรียบเนียน มีความเหนียวแน่น ไม่แตกหัก และมีจุดหลอมเหลวสูงกว่าแวกซ์
ชนิดอื่น ท�าให้ผลิตภัณฑ์มีคุณลักษณะพิเศษในด้านความคงทนแข็งแรง ป้องกันน�้าและเชื้อราได้
ท�าให้สามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น อีกทั้งขบวนการผลิตไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคา
แพง ท�าให้ชุมชนสามารถเรียนรู้และน�าไปปฏิบัติได้ มีความเหมาะสมในการน�าไปใช้งานด้าน
หัตถกรรม
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้อเสนอโครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมเชือก
กล้วยน�้าว้าและย้อมสีเชือกกล้วยด้วยสีธรรมชาติจากสีธรรมชาติจากสีธรรมชาติ ป้องกันเชือก
กล้วยจากการเกิดเชื้อราด้วยสารละลายโซเดียมเบนโซเอต และศึกษาปริมาณสารเคลือบกันน�้า
ไมโครแวกซ์ที่เหมาะสม เพื่อยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และศึกษาสมบัติทางกายภาพของ
เชือกกล้วยน�้าว้าที่ผ่านการเคลือบส�าหรับใช้ในงานหัตถกรรม รวมถึงพัฒนาแนวทางการตลาด
ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงเป็นการน�าต้นกล้วยมาใช้ประโยชน์ และสร้างทางเลือกใหม่ในการน�าวัสดุ
ที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาท�าหัตถกรรม อีกทั้งยังเกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green
Product) นอกจากนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการต่อยอดวัตถุดิบที่เกิดจากฝีมือหัตถกรรมชุมชนด้วย
ความคิดสร้างสรรค์ สู่รูปแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่สามารถแตกแขนงรูปแบบ
ผลิตภัณฑ์ทางเลือกของกลุ่มชุมชนไปได้อย่างมาก
166 < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น