Page 166 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 166

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่มสตรีบ้านคลองมะเกลือ ต�าบล

                                             วังม่วง อ�าเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วยกระเป๋า
                    บทน�าสะพายข้าง และตะกร้ามือถือจากเชือกมัดฟางที่เหลือทิ้ง
                  ผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มมีจ�าหน่ายที่ร้านค้าในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และทางเพจเฟซบุ๊ก จากการ

                  สัมภาษณ์ผู้น�ากลุ่มเบื้องต้นพบว่าขั้นตอนการเตรียมเส้นเชือกมัดฟางผ่านการท�าความสะอาด
                  เชือกด้วยคลอรีนและผงซักฟอก ท�าให้เมื่อเชือกโดนน�้าหรือความชื้น เชือกไม่มันวาวและเปื่อยได้

                  เมื่อน�าเชือกมาใช้ในงานหัตถกรรมจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เกิดเชื้อราและอายุการใช้งานได้น้อยลง
                  และทางกลุ่มเห็นความส�าคัญที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์จากเชือกชนิดอื่นๆ เพื่อให้เกิดความหลาก
                  หลายของสินค้า จากการที่ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่กับทางชุมชน พบว่าทางชุมชนปลูกต้นกล้วยน�้าว้าเป็น

                  จ�านวนมาก โดยธรรมชาติของต้นกล้วยทุกชนิดจะให้ผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อออกผลแล้ว
                  จะถูกโค่นล�าต้นทิ้ง โดยส่วนของล�าต้นไม่ได้ถูกน�าไปใช้ประโยชน์ ถ้ามีปริมาณมากก็ถูกเผาท�าลาย

                  ทิ้ง ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจน�าต้นกล้วยน�้าว้ามาใช้ในการประยุกต์ในลักษณะของเชือกกล้วย
                  เพื่อเป็นการน�าวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการท�าหัตถกรรม เป็นการส่งเสริมให้เกิดการ
                  ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามากที่สุด อีกทั้งยังเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อ

                  สิ่งแวดล้อม และเพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าควรย้อมสีเชือกกล้วยด้วยสีจากธรรมชาติ
                  ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าสีย้อมเคมีบางชนิดก่อมะเร็งทั้งระหว่างการย้อมและการปนเปื้อนลงสู่แหล่งน�้า จึง

                  สนใจย้อมสีเชือกกล้วยด้วยสีธรรมชาติจากขมิ้นและฝาง ซึ่งมีในชุมชนอยู่แล้ว อีกทั้งได้สีปริมาณ
                  ที่เพียงพอต่อความต้องการ มีกระบวนการย้อมที่รวดเร็วและไม่สลับซับซ้อน และเพื่อให้สีคงทน
                  ติดเส้นใยเชือกมากยิ่งขึ้นโดยการผสมเกลือแกงจะใช้ผสมกับน�้าสีย้อมเพื่อช่วยให้สีติดได้ง่ายขึ้น

                  การใช้วัสดุเชือกกล้วยย้อมสีธรรมชาติ จึงเป็นวัสดุทางผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่แปลกใหม่น่าสนใจ
                  ซึ่งสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆได้อีกมากมาย

                          ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากวัสดุธรรมชาติทุกชนิดมักพบปัญหาการเกิดเชื้อราขึ้นหากได้
                  รับความชื้นจากการน�าไปใช้งาน ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงเลือกใช้วิธีการอบด้วยก�ามะถันซึ่งเป็นกรรมวิธี
                  ที่นิยมใช้เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา จากการศึกษาข้อมูลพบว่า การใช้ก�ามะกันส่งผลเสียต่อผู้ผลิต

                  และผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากก�ามะถันเมื่อผ่านกระบวนการเผาไหม้เพื่อใช้ในการอบจะเกิด
                  แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขึ้น ซึ่งหากตกค้างบนผลิตภัณฑ์ย่อมเกิดผลเสียต่อการผลิตและใช้

                  ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้การใช้วิธีอบด้วยก�ามะถันสามารถป้องการการเกิดเชื้อราบนผลิตภัณฑ์ได้
                  เพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (ประไพศรี สมใจ, พวงเพ็ญ สูยะนันทน์ และ สุภาพ อัจฉริยศรีพงศ์,
                  2536) จากข้อจ�ากัดดังกล่าวมีการศึกษาเทคโนโลยีป้องกันการเกิดเชื้อราในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม

                  จากวัสดุธรรมชาติ โดยใช้สารละลายโซเดียมเบนโซเอตความเข้มข้นร้อยละ 3 ถึง 5 ท�าการทดสอบ
                  ในเส้นใยผักตบชวา กก และไม้ไผ่ ผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการป้องกันเชื้อราด้วยวิธีการ

                  ดังกล่าว พบว่าสามารถป้องกันปัญหาการเกิดเชื้อราได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่



                              103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น  >    165
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171