Page 137 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 137

คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ เห็นชอบ (ร่าง) แผน

                                     ปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 ที่
             บทน�ามีแนวทางขับเคลื่อนให้สมุนไพรไทยเป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อสร้าง
           ความมั่งคั่ง สร้างรายได้ให้ประเทศ โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสนับสนุนองค์ความรู้

           และเทคโนโลยีแก่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการ ในการด�าเนินการต่าง ๆ รวมถึงการขออนุมัติจด
           ทะเบียนผลิตภัณฑ์ ขออนุญาตน�าวัตถุดิบไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
           เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้มาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการช่วยผลักดันให้สมุนไพรไทย
           ก้าวไปสู่ตลาดโลกและเป็นที่ยอมรับระดับสากล รวมถึงรองรับการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่ง

           เสริมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่าให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบ
           ด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
           ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่อุปทาน

           ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้เป็น ASEAN Herbal Hub สร้างตรา
           สัญลักษณ์คุณภาพ และส่งเสริมภาพลักษณ์สมุนไพรไทยควบคู่กับอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่ง
           เสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเหมาะสม มีระบบรับรองกระบวนการผลิตสมุนไพร

           ขยายตลาดผลิตภัณฑ์ Herbal Champions และยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบนิเวศ น�าไปสู่การ
           พัฒนาสมุนไพรไทยให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ลงทุนการวิจัยและนวัตกรรม เพิ่มห้องปฏิบัติ
           การ ติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยด้วยข้อมูล และพัฒนาสมุนไพร

           เชิงพื้นที่ (กรุงเทพธุรกิจ, 30 ธันวาคม 2564) ดังนั้น การร่วมมือกันของเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร
           เพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจึงเป็นการด�าเนินงานที่ตอบสนองกับนโยบายของภาครัฐ รวม
           ถึงท�าให้ได้รับโอกาสในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาต่อยอดพืช
           สมุนไพรให้ได้รับการแปรรูปหรือการสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างหลากหลาย โดยใช้องค์ความรู้ใน

           ศาสตร์ต่าง ๆ และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ภายใต้การผลิตที่ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ
           ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลท�าให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ มีรายได้

           และพึ่งพาตนเองได้
                   กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านอ่าวกระโจม ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 28/1 หมู่ 4 ต�าบลโพธิ์ชัย อ�าเภอ
           อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี รวมกลุ่มกันเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยมี นายกฤตภาส ป้อมเปี่ยม ประธาน
           กลุ่ม ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านอ่าวกระโจมเริ่มด�าเนินการจากการรวมตัวของกลุ่มผู้สูงอายุเป็น

           ส่วนใหญ่จากเดิมที่มีอาชีพปลูกดอกดาวเรือง แตงกวา พืชสมุนไพร และการแปรรูปอาหาร
           เนื่องจากเศรษฐกิจตกต�่าเลยมีความคิดที่จะหารายได้เสริม จึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
           แรกเริ่มจัดตั้งกันมีสมาชิกแปดคนปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจ�านวน 16 คน มีการรวมกลุ่ม

           กันเพื่อหารายได้เสริม วัตถุประสงค์หลักเน้นในเรื่องของการปลูกพืชผักและสมุนไพรเพื่อแปรรูป
           เป็นอาหารพื้นบ้าน ปัจจุบันมีผลผลิต พืชผักและสมุนไพรที่หลากหลาย เช่น มะกรูด มะนาว
           ตะไคร้ และกล้วย ทั้งนี้ กลุ่มมีความต้องการที่จะผลิตหรือเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรเพื่อเป็น




           136    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142