Page 126 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 126
ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแบรนด์สลุง ถือก�าเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2564 โดย
กลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชน ต�าบลโคกสลุง อ�าเภอพัฒนานิคม
บทน�าจังหวัดลพบุรี ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อมุ่งเป้ากลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่
ที่มีความนิยมในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ วัสดุหลักที่ใช้ในการตัดเย็บใช้ผ้าฝ้าทอมือ สีธรรมชาติ
ที่พบจ�านวนมากในชุมชน บ้านโคกสลุง กระบวนการตัดเย็บโดยช่างตัดเย็บฝีมือดีในท้องถิ่น
จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแบรนด์สลุง มีความหลากหลาย
ของแบบเสื้อผ้าน้อย เช่น ชุดล�าลองสตรี 3 แบบ เสื้อท�างานบุรุษ 2 แบบ ซึ่งจากการสอบถาม
ข้อมูลผู้ประกอบการเกี่ยวกับความหลากหลายของแบบเสื้อผ้าพบว่า ผู้ประกอบการมีความ
ต้องการรูปแบบผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าที่มีความหลากหลายมากกว่าเดิม จึงท�าให้ผู้ด�าเนินโครงการคิด
ท�าโครงการการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแฟชั่น กลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ “สลุง” ต�าบล
โคกสลุง อ�าเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าให้มี
มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการผลิตผ้าซึ่งเป็นวัสดุต้นทาง จะท�าให้ประชาชนในชุมชนมี
รายได้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเสื้อผ้าแฟชั่น
2. เพื่อบูรณาการการจัดการเรียนการในรายวิชากับการศึกษาวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
1. กลุ่มผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์สลุง
2. ศูนย์จ�าหน่ายสินค้าชุมชน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
พื้นที่ด�าเนินโครงการ
ชุมชนไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง ต�าบลโคกสลุง อ�าเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ระยะเวลาด�าเนินโครงการ
ธันวาคม 2565 - สิงหาคม 2566
วิธีด�าเนินโครงการ
ขั้นตอนที่ 1 รบรวมข้อมูลและวางแผน
1. ศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแบรนด์สลุง
2. ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน
103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น > 125