Page 121 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 121

สืบเนื่องจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง
                                     โควิด ด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional De-

             บทน�าvelopment) ของต�าบลเทศบาลเมืองบ้านหมี่ มหาวิทยาลัย
           ราชภัฏเทพสตรี ได้ให้ความอนุเคราะห์เป็นที่ปรึกษาแนะน�าในการขับเคลื่อนงานไปสู่เป้าหมาย
           ตั้งแต่ร่วมกันระดมสมอง ก�าหนดแผน สร้างและส่งเสริมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์

           ชุมชนจักสานที่มีจุดเด่นรักษ์โลก ไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและจัดจ�าหน่ายอันก่อให้เกิดราย
           ได้แก่นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปทั้งในและนอกชุมชน ตามเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
           (SDGs) เป้าหมายดังกล่าวนี้ ประเทศไทยได้ขานรับในรูป BCG Model ตามที่รัฐบาลได้ก�าหนด

           นโยบายเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ  โดยการส่งเสริมให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับ
           ฐานราก ผ่านกลไกต่างๆ เพื่อให้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล�้าทางรายได้ของประชาชน
           ดังนั้นการสร้างและพัฒนาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ OTOP เป็นการขับเคลื่อนแนวทางหนึ่ง

           ที่ก่อให้เกิดรายได้ของชุมชน แต่กระบวนการดังกล่าวยังต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายหลายส่วน เช่น
           การผลิตให้ได้มาตรฐาน การจัดจ�าหน่าย การตลาดและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งกระทรวงการ
           อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีนโยบายการสนับสนุนโดยก�าหนดให้มหาวิทยาลัย
           ขับเคลื่อนการด�าเนินงานที่ส�าคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยสู่ต�าบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ

           2) การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) 3) มหาวิทยาลัย : ขั้วความเจริญ
           เศรษฐกิจเชิงพื้นที่ (University as a Marketplace) และ 4) อว. ส่วนหน้า ส�าหรับการขับเคลื่อน

           มหาวิทยาลัย : ขั้วความเจริญเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ (University as a Marketplace) เป็นการผลัก
           ดันให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน
                  ผลการด�าเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิด ด้วยเศรษฐกิจ
           BCG (U2T for BCG and Regional Development) ของต�าบลเทศบาลเมืองบ้านหมี่ ใน

           ปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมาได้รับผลตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายของชุมชนเป็นอย่างดียิ่ง
           ประกอบกับได้รับความสนใจจากที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา
           วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อครั้งลงพื้นที่เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ชุมชนต�าบลบ้านหมี่ ส่งผล

           ให้โรงเรียนเทศบาลบ้านหมี่ และส�านักงานเทศบาลเมืองบ้านหมี่ให้ความสนใจสนองนโยบายการ
           พัฒนาและพร้อมให้การส่งเสริมสนับสนุนต่อยอดร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีอย่างเต็ม
           ตามศักยภาพ ด้วยการพัฒนาและ/หรือยกระดับทักษะ ฝีมือในการจักสานของเยาวชนและ

           นักเรียน จึงได้แสดงเจตจ�านงร่วมพัฒนากับมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีนับแต่นั้นมา ดังนั้นเพื่อ
           ให้ชุมชนเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นงานอันเป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏ
           เทพสตรีและโรงเรียนเทศบาลบ้านหมี่  จึงร่วมกันจัด “โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนและ

           เพิ่มศักยภาพการตลาดออนไลน์ เครื่องจักสาน ต�าบลบ้านหมี่ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน”
           เพื่อให้สอดคล้องและสอดรับกับการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยตามโครงการยกระดับมาตรฐาน
           ผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่ University as Marketplace ประจ�าปีงบประมาณ 2566




           120    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126