สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศขนาดใหญ่ ทำให้มีผู้เข้าใช้บริการทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก สำนักวิทยบริการฯ จึงดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดลูกน้ำ ยุงลาย บริเวณภายนอกอาคาร เพื่อเป็นการควบคุม และป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีในวันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 16.30 น.
Read more: ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดลูกน้ำ ยุงลาย เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลาย
ผศ.ไชยพล กลิ่นจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะงานบรรณารักษ์ในการให้บริการห้องสมุดอย่างสร้างสรรค์ ณ ห้อง Mini Theater ชั้น 2 อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2567 สำหรับการอบรมครั้งนี้มีบุคลากรห้องสมุด ครู และผู้ดูแลงานห้องสมุด จากสถาบันการศึกษา 23 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี และสิงห์บุรี เข้าร่วมการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 32 คน โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมผู้เข้าร่วมการอบรมจะเกิดความเข้าใจในงานห้องสมุด มาตรฐานของห้องสมุด มีความรู้เบื้องต้นในการจัดหมวดหมู่หนังสือ การออกแบบแหล่งเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเกิดความเข้าใจในการใช้โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ศรีสุภา นาคธน กรรมการบริหารชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา และกรรมการบริหารชมรมห้องสมุดสีเขียว สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทีมวิทยากรจากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ซึ่งประกอบด้วย คุณหทัยรัตน์ เสวกพันธ์ บรรณารักษ์ ชำนาญการ, คุณปิติรัตน์ อินทุม บรรณารักษ์ ชำนาญการ และ คุณอัญชลี เขื่อนขันธ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ชำนาญการ ให้เกียรติเป็นวิทยากรการอบรม
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ บริเวณหน้าพระที่นั่งจันทรพิศาล (ใต้ต้นจันทร์) พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 โดยในปีนี้สำนักวิทยบริการฯ ได้นำกิจกรรม DIY โดยนำผ้าทอท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี ซึ่งมีหลากหลายลวดลาย หลากหลายความหมายของแต่ละท้องถิ่น มาประดิษฐ์จัดทำเป็นสมุดทำมือ สุดแสนน่ารักเหมาะแก่การหยิบใช้ตามความชอบ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมกันอย่างมากมาย ไม่เพียงแค่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้สมุดโน้ตเล่มใหม่กลับไปใช้ การทำงาน DIY ยังได้ประสบการณ์จริงจากการลงมือทำ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และยังช่วยฝึกสมาธิ สติ นิสัยให้เป็นคนใจเย็นอีกด้วย
Read more: กิจกรรมสมุดทำมือในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประจำปี 2567
ผศ.ไชยพล กลิ่นจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อาจารย์ปัญญ์ชลี เต่าทอง อาจารย์ ดร.สุธิษา เชญชาญ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ พร้อมบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ เข้าร่วมในพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย ณ บริเวณลานธรรม และพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์ 14 รูป ณ บริเวณด้านหน้าอาคารลวะศรี พร้อมพิธีอัญเชิญตราพระราชลัญจกร พิธีถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ห้องประชุมพระนารายณ์ชั้น 4 อาคารรัตนเทพสตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567
อาจารย์ปัญญ์ชลี เต่าทอง และ อาจารย์ ดร.สุธิษา เชญชาญ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เข้าร่วมสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 10 "พลังงานสีเขียว เพื่อความยั่งยืน" (Green Energy for Sustainability) ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์เพลส โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2567 เครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเป็นความร่วมมือทางวิชาการ ภายใต้ขอบเขตความร่วมมือของสมาชิกภาคีเครือข่ายภายใต้ ทั้งห้องสมุดในสังกัดสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในสังกัดกรม กองต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การให้บริการและแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ผ่านรูปแบบการประชุมมหน่วยงานภาคีความร่วมมือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การอบรมสัมมนา การศึกษาดูงาน การกำหนดมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว แผนและกิจกรรมพัฒนาห้องสมุดสีเขียว จากความร่วมมือก่อให้เกิดมาตรฐานด้านการอนุรักษ์พลังงนและสิ่งแวดล้อม และช่วยยกระดับการดำเนินงานของสมาชิกในเครือข่าย สามารถสร้างความตระหนักรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่าง ๆ ส่งผลให้การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การแบ่งปันความรู้ความเข้าใจ ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของสมาซิกในเครือข่ายทำให้เกิดความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาเครือข่ายและต่อยอดไปสู่ความร่วมมือต้านอื่น ๆ ต่อไป
Read more: โครงการสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 10
2023 © Thepsatri Rajabhat University