Page 14 - จิตรกรรมฝาผนัง วัดธรรมิการาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
P. 14

ชาดก พระพรหมนารทชาดก พระวิธูรชาดก และพระเวสสันดรชาดก ที่ผนังด้านตรงข้ามกับ
           พระประธาน มีข้อความเขียนไว้ว่า “เขียนเดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค�่า ปีกุน ส�าเร็จแล้วปีชวด พ.ศ.๒๔๖๗
           ราคา ๙๔ บาท ช้าง (ช่าง) เพงเป็นผู้เขียนไว้ในพระพุทธศาสนา” รูปแบบของการวาดเป็นแบบท้องถิ่น


           จิตรกรรมภายในพระอุโบสถ
                พระอุโบสถวัดธรรมิการามเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานว่าอาจจะ
           สร้างหรือบูรณะพร้อมกับพระวิหารในราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
           จิตรกรใช้เทคนิคการวาดภาพแบบไทยประเพณี ผสมผสานกับเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตก
           เป็นเรื่องราวพุทธประวัติที่มีพื้นหลังเป็นสภาพการใช้ชีวิตของชาวบ้านผสมผสานกับวิถีชีวิตของ
           คนเมืองหลวงในกรุงเทพมหานคร ปรากฏในภาพที่จิตรกรได้สอดแทรกไว้ คาดว่าจิตรกรคงเคย
           เดินทางไปเห็นความเจริญในกรุงเทพแล้วอยากถ่ายทอดให้ผู้ที่ไม่เคยเดินทางไปกรุงเทพเห็น
           สิ่งเหล่านี้ได้รู้จักเพราะในอดีตกล้องถ่ายรูปยังไม่แพร่หลาย หรืออาจจะเป็นจิตรกรที่อาศัยอยู่ใน
           กรุงเทพฯ แล้วเดินทางมาวาดภาพที่ลพบุรีตามค�าสั่ง เพราะสามารถวาดภาพที่เห็นรายละเอียด
           ของวิถีชีวิตของคนในเมืองได้อย่างชัดเจน เช่น ภาพกองทหารสมัยใหม่ซึ่งในขณะนั้น มีประจ�าการ
           อยู่เพียงในกรุงเทพ ภาพผู้คนประกอบอาชีพต่างๆ ที่มีอยู่ร่วมกันระหว่างคนไทยและคนจีน ภาพที่
           น่าสนใจเช่นภาพต�ารวจหรือพลลาดตะเวรออกตรวจตราความเรียบร้อย และภาพรถลากหรือรถเจ๊ก
           ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ได้รับความนิยมและมีบริการเป็นจ�านวนมากในกรุงเทพในสมัยนั้น เป็นต้น


           การดูภาพจิตรกรรมภายในพระอุโบสถ

















      การดูภาพจุดเริ่มต้นจากด้านหลังขวามือของพระประธาน   ตอนที่ ๑ เทวดาชุมนุมอัญเชิญพระโพธิสัตว์ให้จุติเพื่อมาตรัสรู้เป็น
      เวียนขวาทักษิณาวัตรจนจบ              พระพุทธเจ้า และตอนที่ ๒ พระนางสิริมหามายาทรงสุบิน



           12  |
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19