Page 97 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 97
ชุมชนบ้านหลุมข้าว เป็นกลุ่มที่เริ่มจากการทอผ้า และเรียนรู้
เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจักสาน โดยได้งบประมาณจาก กศน.
บทน�าโคกส�าโรง ส่งเสริมการเรียนรู้การท�าตะกร้า เริ่มแรกจะเป็น
ตะกร้าปอป่าน และพัฒนามาเป็นตะกร้าหวายเทียม และในพื้นที่ต�าบลหลุมข้าวมีพื้นที่ประมาณ
48 ตารางกิโลเมตร หรือ 25,912 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม การใช้ประโยชน์จากที่ดินส่วนใหญ่
ใช้ในการเกษตรกรรม ต�าบลหลุมข้าว มีจ�านวนหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ครัวเรือนทั้งหมด
728 ครัวเรือน ครัวเรือนเกษตรกร 526 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 25,192 ไร่ พื้นที่ท�าการเกษตร
23,945 ไร่ พื้นที่ท�านา 23,685 ไร่ ไม้ผล 230 ไร่ พืชผัก 30 ไร่ พื้นที่อื่น ๆ 1,967 ไร่ ประชากร
ส่วนใหญ่มีอาชีพท�าการเกษตร ซึ่งอาศัยน�้าฝนท�าให้ผลผลิตที่ได้ไม่แน่นอน ประสบปัญหาภัย
ธรรมชาติอยู่เป็นประจ�า แนวทางการพัฒนาการเกษตร ของต�าบลหลุมข้าว จึงมุ่งเน้นการมีส่วน
ร่วมของชุมชนโดยการจัดเวทีชุมชน เพื่อเสนอปัญหาความต้องการของประชาชน ในด้าน
การเกษตร และเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ในการแปรรูป
ผลิตภัณฑ์จากการเกษตรโดยเฉพาะข้าวที่ปลูกทั้งหมู่บ้าน
ดังนั้น ทางทีมงานได้เล็งเห็นการพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว คือ ผลิตภัณฑ์
ข้าวพองธัญพืชคาราเมลช็อกโกแลต และทางชุมชนมีความต้องการร่วมในการแปรรูป เพื่อเสริม
รายได้ให้กับคนในชุมชนบ้านหลุมข้าว
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ข้าวพองธัญพืชคาราเมลช็อกโกแลต
2. เพื่อถ่ายทอดความรู้ในการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
3. เพื่อออกแบบและจัดท�าโลโก้ของผลิตภัณฑ์ข้าวพองธัญพืชคาราเมลช็อกโกแลต
4. เพื่อออกแบบและจัดท�า Packaging ผลิตภัณฑ์ข้าวพองธัญพืชคาราเมลช็อกโกแลต
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการ
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ด�าเนินโครงการ
ชุมชนบ้านหลุมข้าว ต�าบลหลุมข้าว อ�าเภอโคกส�าโรง จังหวัดลพบุรี
วิธีการด�าเนินการโครงการ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของชุมชนบ้านหลุมข้าว
2. ร่วมด�าเนินการท�าผลิตภัณฑ์ข้าวพองธัญพืชคาราเมลช็อกโกแลต
3. ถ่ายทอดความรู้ในการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
96 < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น