Page 61 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 61

จังหวัดลพบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าที่สืบ

                                      ต่อกันมาอย่างยาวนาน โดยในอดีตนั้นได้มีการอพยพของ
             บทน�าประชากรจากหลายเชื้อชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแต่ละพื้นที่ของ
           จังหวัดลพบุรี  ดังนั้น จึงมีรูปแบบการทอผ้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งผ้ามัดหมี่ทอมือของจังหวัดลพบุรี

           เป็นหนึ่งในผ้าทอที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยการผลิตผ้าทอมัดหมี่ใช้วิธีการที่เป็น
           เอกลักษณ์ ซึ่งลักษณะที่โดดเด่นของผ้าทอมัดหมี่ในจังหวัดลพบุรีในปัจจุบันอ�าเภอโคกเจริญเป็น

           แหล่งทอผ้าที่ส�าคัญในจังหวัดลพบุรี เนื่องจากยังมีจ�านวนของครัวเรือนทอผ้ามากที่สุดในจังหวัด
           ลพบุรี
                  มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน มุ่งวิจัยสร้างองค์ความรู้และ

           นวัตกรรมให้มีคุณภาพเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และสร้างความร่วมมือกับชุมชนทั้งในด้านการวิจัย และ
           การบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏมุ่งเน้นให้ชุมชนในพื้นที่ได้รับการพัฒนา

           อย่างยั่งยืนภายใต้บริบทของท้องถิ่นและศักยภาพของมหาวิทยาลัย ถือเป็นยุทธศาสตร์ส�าคัญ
           โดยโครงการวิจัยนี้ได้ด�าเนินโครงการในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบของ
           มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ได้แก่ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี หรือ 3 บุรี

                  กลุ่มทอผ้าบ้านจอมแก้ว   ต�าบลโคกแสมสาร  อ�าเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี เป็นกลุ่ม
           ที่สมาชิกรวมตัวกันเพื่อผลิตผ้าทอมัดหมี่ลพบุรี ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนและครัวเรือน

           อีกทั้งใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมถึงเป็นการสืบสานและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและ
           ภูมิปัญญาในการทอผ้ามัดหมี่ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ทั้งนี้ ค�าว่า “ผ้ามัดหมี่” เป็นชื่อที่
           เรียกวิธีการทอผ้าที่น�าเอาเส้นด้ายมามัดเป็นเปลาะ ๆ ตามลายแล้วน�าไปย้อมสีให้เกิดสีสัน และ

           ลวดลายตามที่ต้องการ ซึ่งความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ของผ้ามัดหมี่นั้น คือ รอยสีที่
           ค่อย ๆ ซึมในเนื้อผ้าที่ติดกับลวดลาย ท�าให้ได้ลวดลายที่แปลกตาผ้ามัดหมี่เป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน

           ที่ลูกหลานชาวอีสานอพยพได้สืบทอดศิลปวัฒนธรรมมาจากปู่ย่าตายาย ที่แสดงถึงเรื่องราว ความ
           เชื่อ วิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของวิถีการทอผ้าที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
                  จากการลงพื้นที่เพื่อส�ารวจพบว่า ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มทอผ้า

           บ้านจอมแก้ว คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้น�าและสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านจ
           อมแก้ว ถึงการทอผ้าที่มีรูปแบบ  เทคนิค  ลวดลายแบบเดิม ๆ ท�าให้ส่งเสริมการขายได้ยาก  ผ้า

           ที่ทอได้จึงต้องน�าส่งคนกลางในการรับซื้อและถูกรับซื้อแบบตัดราคาท�าให้เกิดความท้อถอยน�ามา
           สู่ปัญหาการเลิกทอผ้าไปในที่สุด อีกทั้งความยากในการทอผ้าเนื่องจากผ้า 1 ผืน มีกระบวนการ
           ทอที่ยากและใช้ระยะเวลา  แต่ไม่สามารถขายได้ในราคาที่เหมาะสม และต้องขายผูกขาดให้กับ

           คนกลางผู้รับซื้อมาอย่างช้านาน กลุ่มทอผ้าบ้านจอมแก้วเป็นกลุ่มทอผ้าขนาดเล็กที่สมาชิกเป็นผู้
           สูงอายุจึงขาดโอกาสในการได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ






           60    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66