Page 55 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 55

เห็ด (mushroom) ในเมืองไทยมีหลายชนิด เช่น เห็ดถังเช่า

                                      เห็ดหลินจือ เห็ดฟาง เห็ดไมตาเกะ  เห็ดหัวลิง  เห็ดกระถิน
             บทน�าพิมาน ฯลฯ รวมทั้งเห็ดเยื่อไผ่ หรือ เห็ดร่างแห (Dictyophora

           indusiata) เห็ดเยื่อไฝ่  ซึ่งในงานนี้จะขอใช้ค�าว่าเห็ดเยื่อไผ่ และเห็ดร่างแห ร่วมกันไปทั้ง 2 ค�า
           ซึ่งมีถิ่นก�าเนิดอยู่ตามพื้นที่เขตร้อนชื้น เช่น ในประเทศไทยที่มักจะพบเจอแทบทุกภาคของ
           ประเทศ มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษหลากหลายมาก ได้แก่ Bamboo mushroom, Bamboo

           fungus, Veiled lady, Long net stinkhorn หรือ Basket stinkhorn ชื่อเหล่านี้ตั้งตามลักษณะ
           เด่นที่เห็นทั่วไปของเห็ด เช่น เห็ดเยื่อไผ่ (Bamboo mushroom) เพราะต้องเพาะเห็ดบนเยื่อ

           ไม้ไผ่ โดยน�าเอาไม้ไผ่มาท�าให้เปื่อยยุ่ย แล้วน�ามากองเพื่อใช้เพาะเห็ด หรือพบเห็ดชนิดนี้ในป่าไผ่
           หรือชื่อที่เรียกว่า เห็ดร่างแห ( Veiled lady) หรือ (Long net stinkhorn) หรือ (Basket stink-
           horn) เนื่องจากส่วนของหมวกเห็ดมีรูปร่างเหมือนกระโปรงหรือตะกร้าหรือสุ่ม ที่สานกันเป็น

           ร่างแห เป็นต้น ส�าหรับประเทศจีนนั้นเป็นแหล่งก�าเนิดในการเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดนี้ มีชื่อเรียก
           หลากหลาย ได้แก่ เห็ดดางแห เห็ดวิญญาณถือร่ม เห็ดราชา เห็ดราชินี เห็ดราชาแห่งยา หรือเห็ด

           ดอกไม้  ค�าว่า “Stinkhorn” ที่ใช้ต่อชื่อข้างท้ายของเห็ดสายพันธุ์นี้ บ่งชี้คุณลักษณะของเห็ด
           เหล่านี้ว่ามีกลิ่นเหม็น เนื่องจากส่วนบนสุดของดอกท�าหน้าที่ผลิตสปอร์ที่เปรียบได้กับเมล็ดพันธุ์
           ของเห็ด ส่วนบนสุดนอกจากจะผลิตสปอร์แล้วยังผลิตกลิ่นรุนแรงออกมาเรียกแมลงอีกด้วย ซึ่ง

           แมลงเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยในการกระจายพันธุ์ของเห็ดในธรรมชาติเป็น
                  เห็ดที่มีมีสรรพคุณทางยาและคุณค่าทางโภชนาการสูง เห็ดเยื่อไผ่ หรือเห็ดร่างแห มีทั้ง

           สายพันธ์จีน และสายพันธ์ไทย ก่อนนั้นประเทศไทยได้มีการน�าเข้าเห็ดเยื่อไผ่แห้งจากประเทศ
           จีนมาบริโภคภายในประเทศปีละไม่ต�่ากว่า 6,500 ตัน คิดเป็นมูลค่าไม่ต�่ากว่า 1,500 ล้านบาท
           เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยที่มีคุณภาพดีกว่าสายพันธุ์จีนในเรื่องของกลิ่นที่ดีกว่า ราคาขายของเห็ด

           เยื่อไผ่ในท้องตลาดขายกิโลกรัมละ 3,000 - 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเห็ด (กรมวิชาการ
           เกษตร, 2562) เห็ดเยื่อไผ่สด 14 -16 กิโลกรัม  ท�าเห็ดแห้งได้ 1 กิโลกรัม และหากประเทศไทย

           สามารถส่งเสริมการเพาะเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์ไทยบริโภคภายในประเทศ และส่งขายตลาดต่าง
           ประเทศจะสามารถประหยัดเงินตราอย่างมหาศาลและเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกรไทย
           มีรายได้ที่มั่นคงยั่งยืนในอนาคตเห็ดเยื่อไผ่ หรือเห็ดร่างแหมีประโยชน์ คือ เห็ดมีส่วนประกอบ

           ของกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ (essential amino acid)  7 ชนิด  และพบสาระส�าคัญ
           คือ สาร Phosphatidylcholine, สาร Dictyophorine A and B ซึ่งช่วยกระตุ้นนการท�างาน

           ของเซลล์ประสาทและป้องกันโรคสมองเสื่อม และสารโฟลีฟีนอล (Polyphenol) ซึ่งเป็นสา
           รส�าคัญในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ในส่วนของสรรพคุณทางยา หากรับประทานเห็ดในระยะดอก
           ตูมจะมีฤทธิ์เป็นยาชูก�าลังหรือยาโป้วได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้เมือกเห็ดยังมีคุณสมบัติในการ

           บ�ารุงผิวพรรณ ลดการระคายเคือง เพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยลดเลือนริ้วรอยก่อน เมือกหุ้มดอกเห็ด



           54    < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60