Page 91 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 91
น�ามาสู่การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ไปใช้ รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วง
โซ่การผลิต สนับสนุนการผลิตและการบริการของชุมชนในการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร ท�าให้ช่วย
ลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกร และช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารเคมี ท�าให้
สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและประชาชนในชุมชนมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ชุมชนเกิด
ความเข้มแข็งและยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนสมุนไพร ของวิสาหกิจชุมชน สุรัตติกาล (ชีพ) ฟาร์ม
ต�าบลป่าตาล อ�าเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ปุ๋ยมูลไส้เดือนสมุนไพร ของวิสาหกิจชุมชน สุรัตติกาล (ชีพ)
ฟาร์ม ต�าบลป่าตาล อ�าเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ด�าเนินโครงการ
วิสาหกิจชุมชนสุรัตติกาล (ชีพ) ฟาร์ม ต�าบลป่าตาล อ�าเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ระยะเวลาด�าเนินโครงการ
ธันวาคม 2565 - สิงหาคม 2566
วิธีด�าเนินโครงการ
1. กระบวนการวิเคราะห์สภาพปัญหาของผลิตภัณฑ์ ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหา
สภาพปัญหาของผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การ
ศึกษาและร่วมพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในด้านแนวความคิด กลวิธีการออกแบบ ขั้นตอนการผลิต
ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทัศนคติ สภาพแวดล้อม ต้นทุนทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบ
ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการจัดการความรู้ด้านการออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการจัดการความรู้เพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพ
ด้านการจัดการ การตลาด การผลิต และการด�าเนินงานด้านธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง
2. กระบวนการพัฒนาคุณภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยชุมชนมีส่วนร่วม สมาชิกชุมชนได้มี
ส่วนร่วม ค้นหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพปุ๋ยมูลไส้เดือน การให้ธาตุอาหารที่จ�าเป็นกับผลผลิต
ทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่สอดคล้องกับ
การสื่อสาร ร่วมมือกับคณะผู้จัดท�าโครงการ ออกแบบตราสินค้ารูปแบบใหม่ทั้งในด้านโครงสร้าง
และกราฟิก รวมถึงการประเมินความคุ้มค่าของบรรจุภัณฑ์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ด้าน
90 < 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น