Page 90 - 103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
P. 90

ปัจจุบันการท�าการเกษตรอินทรีย์ก�าลังเป็นที่นิยมในการผลิต

                                             ทางการเกษตร สืบเนื่องมาจากผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีความ
                    บทน�าปลอดภัยต่อสุขภาพปราศจากการตกค้างของสารพิษ ต่าง ๆ
                  แนวทางการท�า เกษตรอินทรีย์ หรือปลูกผักปลอดสารเคมี จึงเป็นทางเลือกของคนรักสุขภาพ

                  และเป็นโอกาสของเกษตรกรในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ราคาดี ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่
                  เกษตรกร

                         สุรัตติกาล (ชีพ) ฟาร์ม เป็นศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน ตั้งอยู่ที่ต�าบลป่าตาล อ�าเภอ
                  เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นแหล่งสร้างอาชีพเกษตรให้แก่ชุมชนป่าตาล โดยมุ่งเน้นการท�า
                  เกษตรแบบพึ่งวิถีธรรมชาติ สร้างผลผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขภาพโดยไม่ใช้สารเคมี  นอกจากนี้ ยัง

                  แบ่งปันพื้นที่ให้คนในชุมชนได้เข้ามาประกอบอาชีพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย จึงเป็นแหล่งสร้างอาชีพ
                  ให้แก่ชุมชนต�าบลป่าตาล อ�าเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ผลผลิตในฟาร์มแห่งนี้ ได้แก่ พืชผัก

                  สวนครัว และพืชสมุนไพรปลอดสารพิษ อาทิ ต้นอ่อนทานตะวัน ผักสลัดสด นอกจากนี้ยังผลิต
                  สินค้าแปรรูป เช่น สลัดโรล ไข่เค็มอินทรีย์ ต้นอ่อนข้าวสาลี วางจ�าหน่ายตามตลาดต่าง ๆ  และ
                  ซูเปอร์มาเก็ตในจังหวัดลพบุรี

                         ปุ๋ยมูลไส้เดือน (vermicompost) เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากการย่อยสลายของวัสดุ
                  อินทรีย์โดยไส้เดือน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดิน และ

                  เพิ่มผลผลิตของพืช ปุ๋ยที่ได้ถูกน�าไปใช้ในการเจริญเติบโตของพืช ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้มี
                  ช่องว่างของอากาศ การระบายน�้าดี รวมทั้งเพิ่มจ�านวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
                         ปัจจุบันสุรัตติกาล (ชีพ) ฟาร์ม ได้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ซึ่งเป็นกระบวน

                  การผลิตปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เกิดจากการเปลี่ยนวัสดุอินทรีย์ที่เป็นส่วนเหลือทิ้งมาผ่านขั้น
                  ตอนการหมักตามธรรมชาติด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ร่วมกับการท�างานของไส้เดือนดินสายพันธุ์

                  ที่เหมาะสม สภาพทั่วไปของผลิตภัณฑ์ยังขาดจุดเด่นของผลิตภัณฑ์หรือสิ่งที่แตกต่างจากผู้ผลิต
                  อื่น ๆ  จากการส�ารวจสภาพปัจจุบันผู้ด�าเนินโครงการพบว่า ภายในท้องถิ่นต�าบลป่าตาลซึ่งเป็น
                  พื้นที่เป้าหมาย มีองค์ความรู้ท้องถิ่นที่ใช้น�้าหมักและสมุนไพรบางชนิดเป็นส่วนผสมในการผลิต

                  ปุ๋ย เช่น น�้าหมักจากฟ้าทะลายโจร น�้าหมักจากขมิ้นชัน และน�้าหมักจากใบกัญชา ซึ่งสามารถน�า
                  มาพัฒนาให้ปุ๋ยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ทางกลุ่มยังขาดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวม

                  ทั้งส่งเสริมการจัดจ�าหน่ายเช่นการสื่อสารการตลาด ท�าให้สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
                         จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะผู้จัดท�าโครงการจึงมีความสนใจจัดท�าโครงการ พัฒนา
                  คุณภาพปุ๋ยมูลไส้เดือนสมุนไพร ของวิสาหกิจชุมชน สุรัตติกาล (ชีพ) ฟาร์ม ต�าบลป่าตาล อ�าเภอ

                  เมือง จังหวัดลพบุรี  เพื่อพัฒนาคุณภาพของปุ๋ยมูลไส้เดือน และพัฒนาการสื่อสารทางการตลาด
                  ไปยังกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้ เกิดความเข้าใจ

                  เห็นคุณค่า ของผลิตภัณฑ์ส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือ และเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์



                                103 ปี เทพสตรี มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น  >    89
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95