Page 107 - วารสารวัฒนเทพ (วารสารรายปี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 เมษายน 2564 - มีนาคม 2565)
P. 107

บทนำ
                    มนุษยทุกคนเกิดมาอยูรวมกันเปนกลุมสังคมมีการสรางวัฒนธรรมขึ้นมาในกลุม
              สังคมของตนเอง เพื่อเปนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจใหรูสึกอบอุน ปลอดภัย เปนที่ยึดมั่นและ
              ยอมรับตอกันมาเปนเวลานาน เมื่อมนุษยเกิดการยอมรับในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะแสดงออก
              ทั้งทางกายและใจ การยอมรับนับถือนี้ถือไดวาเปน “ความเชื่อ” ซึ่งมีทั้งความเชื่อทางศาสนา
              ความเชื่อทางไสยศาสตร ความเชื่อที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ฯลฯ ถือได
              วาความเชื่อเหลานี้ปรากฏใหเห็นอยูทั่วไปในสังคมไทย
                    สังคมไทยถือเปนสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและผูกพันกับความเชื่อ
              แตกตางกันไปใน  แตละทองถิ่น โดยความเชื่อเปนสิ่งที่เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดสิ่ง
              หนึ่ง เพื่อเปนเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต ถึงแมวาโลกปจจุบันจะมีวิทยาการที่กาวหนา
              ไปมากแลวก็ตาม แตเราก็พบวามนุษยยังมีความเชื่อในสิ่งที่ไมมีเหตุผลหรือเชื่อในสิ่งที่จะหา
              หลักฐานมาพิสูจนใหเห็นจริงไดยากอีกเปนจำนวนมาก (สุนันท อุดมเวช, 2524, หนา 114)
              ในสังคมชนบทมีความเชื่อในเรื่องตาง ๆ ที่มีอิทธิพลในการกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคม
              โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับผีสางเทวดา แมวาคนไทยสวนใหญจะนับถือพุทธศาสนาแต
              ความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดาก็ไดรับการยอมรับนับถือมาชานาน มีการผสมผสานระหวาง
              ความเชื่อทางศาสนา ไสยศาสตร ผี วิญญาณ และอำนาจเหนือธรรมชาติ ที่นักวิชาการเคย
              อธิบายวาความเชื่อแบบพุทธและผีดำรงอยูดวยกัน ความเชื่อเรื่องผีสางเทวดาที่ปรากฏใน
              สังคมไทยมีทั้งที่ใหคุณและใหโทษ ผีที่ใหโทษจะเปนผีที่อันตรายตอคน ตองมีการเซนไหวเพื่อ
              ขอขมา สวนผีที่ใหคุณจะเปนผีที่คอยคุมครองปกปองพิทักษบานเมือง ชวยรักษาคนใหหาย
              จากการเจ็บปวย ตลอดจนชวยดลบันดาลใหสมความปรารถนา ซึ่งคนไทยไดยึดมั่นและ
              ยอมรับในการอยูรวมกับความเชื่อนี้มาตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน (สนิท สมัครการ, 2539,
              หนา 124)
                    นางตะเคียนหรือเจาแมตะเคียน เปนความเชื่อทองถิ่นที่ชาวบานเชื่อวาตนไมใหญ
              จะมีรุกขเทวดาอาศัยอยู ในคัมภีรธัมมปทัฏฐกถาถือวารุกขเทวดาอยูจำพวกเดียวกับพระภูมิ
              ซึ่งรุกขเทวดา หรือ รุกขัฏฐะเทวดา เปนเทวดาที่อาศัยอยูบนตนไมบนสวรรคชั้นที่ 1
              (จาตุมหาราชิกา) รุกขเทวดาแบง ออกเปน 2 พวก คือ พวกหนึ่งมีวิมานอยูบนยอดตนไม
              (รุกขวิมาน) หรืออยูบนกิ่งกานของตนไม (สาขัฏฐวิมาน) อีกพวกหนึ่งไมมีวิมานแตอาศัยอยูใน
              ตนไม เชื่อกันวารุกขเทวดา คือวิญญาณของมนุษยที่ทำความดีไมสมบูรณ จึงไปสิงอยูในตนไม
              ความเชื่อนี้ปรากฏอยูในเรื่องไตรภูมิตามคติพุทธศาสนา และในพุทธประวัติ ซึ่งมีการอธิบาย
              ชนิดของเทพและเทวดาที่อาศัยอยูในสวรรค และเมื่อกลับมาพิจารณาเรื่องเทวดาที่อาศัยอยู
              ในตนไม ก็อาจพอจะสันนิษฐานไดวาในวัฒนธรรมทองถิ่นของไทย ชาวบานจะมองวาตนไม
              ใหญ โดยเฉพาะตนตะเคียน คือที่สิงสถิตของรุกเทวดาที่เปนเพศหญิง (ฑีฆา โยธาภักดี,
              และคนอื่น ๆ, 2562, หนา 194) ความเชื่อทางวัฒนธรรมไดผสานกับการอธิษฐานโชคลาง



                                           99
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112